ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็ก

Main Article Content

ทิพวิมล ชมภูคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็ก 2) พัฒนาต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็ก 3) ประเมินประสิทธิภาพของออนโทโลยี 4) ศึกษาการยอมรับของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบ 2) ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็ก 3) แบบประเมินเนื้อหาและการออกแบบโครงสร้างออนโทโลยี 4) แบบวัดการยอมรับระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าความแม่นยำ ค่าความระทึก ค่าความถ่วงดุล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบในการพัฒนาต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็กประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1.1) Semantic Search Engine  1.2) Ontology Integration 1.3) Local Ontology และ 1.4) Wrapper Convert Data Source to OWL 2) ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็กที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย คลาส สับคลาส จำนวน 6 คลาส และมีคุณสมบัติ จำนวน 52 คุณสมบัติ ซึ่งใช้โปรแกรม Hozo-Ontology Editor และใช้โปรแกรม OAM Framework เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างต้นแบบออนโทโลยีที่อยู่ในรูปแบบภาษา OWL กับโครงสร้างฐานข้อมูล MySQL 3) ผลการประเมินโครงสร้างต้นแบบออนโทโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพของการสืบค้นข้อมูลภายหลังทำการทดสอบด้วยค่าความแม่นยำ ค่าความระทึก ค่าความถ่วงดุล ได้ค่าอยู่ที่ร้อยละ 100 ร้อยละ 92.30 ร้อยละ 96 ตามลำดับ 4) ผู้ใช้ระบบยอมรับระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ชมภูคำ ท. (2020). ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับข้อมูลโรคติดเชื้อในเด็ก. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 6(2), 72–81. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/242159
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). สรุปรายงานการป่วย.
[2] สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ในศูนย์เด็กเล็ก. พิมพ์ครั้ง. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
[3] ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย. (2562). การจัดการความรู้เชิงความหมาย. [Online]. Available: https://lst.nectec.or.th/oam/link_semanticKM.php.
[4] วิชิตรณ สุขยิ่ง. (2555). ระบบสืบค้นข้อมูลงานบริการประชาชนโดยออนโทโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.
[5] จุฑาวรรณ สิทธิโชคสถาพร. (2555). ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมายสำหรับงานสารบรรณอิเล็กทรอนิส์. สงขลา.
[6] T. Yamane. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed. New York: Harper and Row.
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2548). การพัฒนารูปแบบกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.