การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

ณัฐธิดา บุตรพรม
ภูวรรณ นักร้อง
เพิ่มพร ลักขณาวรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบระบบโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค ให้ตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน 2) เพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) เพื่อศึกษาผลประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค ระบบนี้ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางการซื้อขาย และแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของโค ระหว่างผู้ขาย ผู้ซื้อ และเกษตรกรผู้เลี้ยง พร้อมทั้งมีข้อมูลที่อยู่ของฟาร์ม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถค้นหาที่อยู่ฟาร์มผ่าน Google Maps ได้  ในส่วนการประเมินผลการใช้งานแอปพลิเคชัน แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้งาน ด้านหน้าที่ของระบบ ด้านความสามารถระบบ ทำงานตรงตามความต้องการ และด้านความปลอดภัยของระบบ  ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาในการประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค ได้สร้างฐานข้อมูลโดยใช้ Firebase ตรงตามความต้องการผู้ใช้งาน  2) การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ได้โมดูลการทำงานทั้งหมด 3 โมดูลคคือ ผู้ใช้งานระบบ, System Functions และ Database และ 3) การศึกษาผลประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค ประกอบด้วยประเมินทั้ง 4 ด้าน คือ 3.1) การประเมินความสามารถของระบบด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้งาน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 อยู่ในระดับมาก 3.2) การประเมินความถูกต้องในด้านหน้าที่ของระบบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 อยู่ในระดับมาก 3.3) การประเมินความสามารถของระบบ ทำงานตรงตามความต้องการ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 อยู่ในระดับมาก และ 3.4) การประเมินความปลอดภัยของระบบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจการใช้งานระบบโมไบล์แอปพลิเคชันซื้อขายโค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง. (2562). พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษา สาขาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 26-38.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.mdes.go.th/mission/detail/416-เน็ตประชารัฐ/

สุรางคณา วายุภาพ. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:26386/

เปิดโลกโอเพนซอร์ซ-แพลตฟอร์มอาสาสมัครที่อาจไปไกลกว่าแรงผลักจากทุนนิยม. (2561). The Momentum. สืบค้น 1 มกราคม 2564, จาก https://themomentum.co/the-economics-of-technology-sharing-open-source-and-beyond/

แนวหน้า. (2564). ร้อยเอ็ดเข้มป้องโควิด สั่งปิดตลาดนัดโคกระบือ มาจาก 18 จว.เสี่ยงสูงต้องกักตัว. สืบค้น 26 เมษายน 2564, จาก https://www.naewna.com/local/568776/

ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบเพื่อขายสินค้าบนสมาร์ททีวีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(1), 61-66.

สุอัมพร ปานทรัพย์ และดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2563). การประเมินการใช้งานแอปพลิเคชัน 7-Eleven TH บนพื้นฐานของทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10(1), 85-97.

ปิ่นทอง ทองเฟื่อง และธวัชชัย สหพงษ์. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ เรื่องรักสุขภาพ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1, 12-19. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Ionic Framework. (2540). ความรู้เกี่ยวกับไอโอนิคเฟรมเวิร์ค. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2563, จาก https://ionicframework.com/

Console Firebase. (2563). Firebase. สืบค้น 30 สิงหาคม 2563, จาก https://console.firebase.google.com/

Angular. (2563). Angular. สืบค้น 2 สิงหาคม 2563, จาก https://angular.io/

ปาริชาติ สถาปิตานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Pattaraporn Tatsapong. (2562). โรคและควบคุมโรคในสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Diseases and Diseases Control in Ruminants). ใน Pattaraporn Tatsapong (บ.ก.). ว่าด้วย Ruminants Production. (น. 339-370). พิษณุโลก: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.