ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการปลูกผักตามกลไกราคาตลาดผักในจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ปิติพล พลพบู
ธานิล ม่วงพูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจการปลูกผักตามกลไกราคาตลาดผักในจังหวัดราชบุรี 2) หาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบจำนวน 5 คน และเกษตรกรผู้ปลูกผักบริเวณเลียบแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรีจำนวน 30 คน การได้มาทั้งสองกลุ่มเป็นแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการปลูกผักตามกลไกราคาตลาดผักในจังหวัดราชบุรี  ประกอบด้วยผู้ใช้งานระบบ 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ดูแลระบบ ทำหน้าที่บริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลผักที่เข้ามาในตลาดกลางของจังหวัดราชบุรี และ (2) เกษตรกรซึ่งจัดเป็นผู้ใช้ทั่วไป โดยระบบจะถูกแบ่งเป็นระบบย่อยออกเป็น 4 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ข้อมูลผัก (2) ราคาผัก (3) การเปรียบเทียบราคาผัก และ (4) ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของผักแต่ละชนิด โดยแต่ละระบบย่อยถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจของผู้ใช้ เป็นการนำเสนอในรูปแบบกราฟฟิกทำให้เกษตรกรเข้าใจได้ง่าย  2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 4.27,         S.D. = 0.62) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อระบบ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 4.15, S.D. = 0.57)

Article Details

How to Cite
พลพบู ป., & ม่วงพูล ธ. (2021). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการปลูกผักตามกลไกราคาตลาดผักในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 7(2), 31–39. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/245057
บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ เศรษฐ์บุญสร้าง (ออนไลน์). (2563). สืบค้นจาก http://www.nawachione.org/2012/10/29/sustainable-agriculture/.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2546). คัมภีร์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญ.นนทบุรี: บริษัท เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จํากัด.

จีรศักดิ์ พุ่มเจริญ, กมลวรรณ แตงสุข, และ ลักษนันท์ พลอยวัฒนาวงศ์. (2562). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการวางแผนการเกษตร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 19(1), 112-123.

อภินันท์ จุ่นกรณ์, ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์, มงคล รอดจันทร์ และธานิล ม่วงพูล. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับขนส่งผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดชุมชนโดยใช้วิธีการเชิงพันธุกรรม. วารสารวิชาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 29-37.

พิเศษ เสนาวงษ์. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน เพื่อการขับเคลื่อนตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 8(1), 16-31.

ประสิทธิ์ เมฆอรุณ. (2558). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทาน ด้วยวิธี Penman Monteith กรณีศึกษาฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดงเศรษฐี วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิทรวิโรฒ, 19, 83-95.

จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการ วิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ

นวัตกรรม, 5(1), 122-132.

V. Venkatesh, M. Morris, and G. B. Davis, “User acceptance of information technology: Toward a unified view,”

MIS Quarterly, vol. 27, no. 3, pp. 425-478, Sep. 2003.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. KMITL Information Technology Journal (Jan. – Jun. 2012), 1(1).