ต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชัน

Main Article Content

ธานิล ม่วงพูล

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชัน และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชันและแบบประเมินประสิทธิภาพ โดยต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชัน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนควบคุมและส่วนของเตาเผาขยะติดเชื้อ ส่วนควบคุมจะทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการให้การเผาขยะติดเชื้อ โดยประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ เซนเซอร์วัดค่าอุณหภูมิ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ชุดโบลเวอร์สำหรับเติมลม และชุดติดระบบไฟฟ้าสำหรับการลดปริมาณควัน ในการทดสอบประสิทธิภาพของระบบทำการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ดังนี้ 1) ค่าอุณหภูมิในห้องเผาที่ 1 และห้องเผาที่ 2 2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง และ 3) เวลาในการเผาขยะติดเชื้อ ผลการวิจัยโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพบว่า 1) การประเมินประสิทธิภาพทั้งส่วนควบคุมและส่วนของเตาเผาโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมากที่สุด และ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพการเผาขยะติดเชื้อหน้ากากอนามัยที่น้ำหนัก 500 กรัม และ 1,000 กรัม พบว่าต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อใช้เวลาเฉลี่ย 10 นาทีและ 20 นาที ใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ย 727.66 กรัมและ 577.66 กรัม มีค่าอุณหภูมิในห้องเผาที่ 1 คือ 965.66 องศาเซลเซียสและ 944.48 องศาเซลเซียส และมีค่าอุณหภูมิในห้องเผาที่ 2 คือ 253.91 องศาเซลเซียสและ 234.91 องศาเซลเซียส ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). ข้อมูลด้านประชากร. สืบค้นจาก https://www.boi.go.th/index.php?age=demographic&language=th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th.

ชาญชัย ทองโสภา. (2558). รายงานการวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมาสำหรับเป็นแหล่งความร้อนเสริม ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน เพื่อกำจัดขยะชุมชน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ตรีรัก กินวงษ์. (2563). พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Jan Wajs, Roksana Bochniak and Aleksandra Golabek. (2019). Proposal of a Mobile Medical Waste Incinerator with Application of Automatic Waste Feeder and Heat Recovery System as a Novelty in Poland. Department of Energy and Industrial Apparatus. Vol. 19 No. 18, 1-18.

Selvakumar Dharmaraj, Veeramuthu Ashokkumar, Rajesh Pandiyan, Heli Siti Halimatul Munawaroh, Kit Wayne Chew, Wei-Hsin Chen and Chawalit Ngamcharussrivichai. (2021). Pyrolysis: An effective technique for degradation of COVID-19 medical wastes. Science Direct. Vol 275, 1-20.

ไตรรัตน์ โคสาแสงและรัชพล สันติวรากร. (2559). การออกแบบเตาแก๊สซิฟายเออร์แบบไหลลงประสิทธิภาพสูง. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ. 2(1), 1-12.

จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). ผลการศึกษาองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 122-132.

นิติพันธุ์ แสนสุข. (2560). การศึกษาการกำจัดขยะติดเชื้อด้วยเตาเผา: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองวารินชำราบ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.