การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

areerat chuphan
เสาวคนธ์ ชูบัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) พัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยพัฒนาโดยใช้หลักทฤษฎี SDLC เครื่องมือในการวิจัยคือ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. พบว่า อำเภอขนอมมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนทั้งสิ้น 27 แห่ง จำแนกเส้นทางการท่องเที่ยวออกเป็น 4 เส้นทาง คือ เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เส้นทางท่องเที่ยวชายหาด เส้นทางท่องเที่ยวถ้ำ/น้ำตก และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  2) ผลพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยการทำงาน 5 ส่วน ได้แก่ การจัดการฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน, การจัดการเส้นทางการท่องเที่ยว, การค้นข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน, การแสดงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และการแสดงเส้นทางการท่องเที่ยวผ่าน Google Map ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 4.05).

Article Details

How to Cite
chuphan, areerat, & ชูบัว เ. (2022). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 8(1), 19–30. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/246397
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2560,7 มีนาคม). แผนพัฒนาจังหวัด ๔ ปี รอบใหม่ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔) จังหวัดนครศรีธรรมราช. http://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/datacenter/plan_4.php

คณะกรรมการบริหารงาน อำเภอขนอม. (2560, 6 มิถุนายน). แผนพัฒนาอำเภอ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔) ฉบับทบทวนในรอบปี ๒๕๖๐. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER32/DRAWER066/GENERAL/DATA0000/00000015.PDF

สถิติทางการ ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การท่องเที่ยว. สืบค้น 21 มิถุนายน 2562, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan

_area/userfiles/files/Tourism.pdf

แสงจันทร์ เรืองอ่อน, สมพร เรืองอ่อน, สุนิษา คิดใจเดียว, ปฐมพงษ์ ฉับพลัน และ พบศิริ ขวัญเกื้อ. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนกูเกิลแมพสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสมือนจริงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 8-17.

นุจรินทร์ ปทุมพงษ์ และ โชคชัย ถมทอง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดการสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 5(1), 63-72.

กนกวรรณ แก้วเกาะสะบ้า และ ถนอม ห่อวงศ์สกุล. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 6(1), 213-230.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Best, John W. (1967). Research in Education (3nd.Ed.), Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hell.

ณรงค์ พลีรักษ์. (2556). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(2), 235-248.

อาคีรา ราชเวียง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาตร์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำท่าจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 37-50.