การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

Main Article Content

๋Jariya Roshom
จริยา รสหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ 7 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน  ประกอบด้วย ประธานแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 คน และผู้ที่รับผิดชอบผลิตสินค้า จำนวน 4 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือกลุ่มลูกค้า จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่
1.1 แบบสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบของสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน 1.2 แบบสอบถามองค์ประกอบสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
1.3 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า  ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ (1) การศึกษาปัญหา/ความต้องการ ดังนี้ 1.1) การเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าอยู่ในวงจำกัดในชุมชนและคนที่รู้จักเท่านั้น 1.2) ต้องการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านสื่อออนไลน์ (2) เครื่องมือแบบสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับแนวทางสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่วนที่ 2 การแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย (1) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ 2 รูปแบบ 1.1) สื่อวิดีโอ 1.2) แบนเนอร์รูปภาพ  (2) การหาคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์ โดยการ 2.1) นำไปทดลองใช้ 2.2) ประเมินความความเหมาะสมของสื่อประชาสัมพันธ์  (3) เครื่องมือแบบสอบถามความเหมาะสมของสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่วนที่ 3 การนำไปใช้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ช่องทางการประชาสัมพันธ์บนระบบออนไลน์ 2 ช่องทาง คือ 1.1) เฟสบุ๊คแฟนเพจ 1.2) เฟสบุ๊คกลุ่ม (2) กลุ่มผู้ใช้งาน จำนวน 2 กลุ่ม คือ 2.1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน 2.2) กลุ่มนักท่องเที่ยว/ลูกค้าทั่วไป (3) เครื่องมือ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมขององค์ประกอบสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการทดลองใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2552). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตและการบริหารภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษณา สตะเวทิน. (2554). หลักการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

กรมวิทยาศาสตร์บริการ. (2555). วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. ปีที่ 60 ฉบับที่ 189 เดือน พฤษภาคม 2555.

ชมพูนุช เมฆเมืองทอง และศิริปประภา แสงจิตร. (2561). การพัฒนาสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

และนวัตกรรม. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อปประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยใช้แนวความคิดชุมชนเป็นฐาน.

ปีที่พิมพ์ 2562 : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

อารยา เสือเดช. (2559). กระบวนการส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กรณีศึกษา : วิสาหกิจ ชุมชนสายบัว. ปีที่พิมพ์ 2559 : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

สุริยะกาณฑ์ สุขแก้ว, อัญญาดา กัณฑวงศ์ และทิพย์หทัย ทองธรรมชาติ. (2564). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มผ้าทอปากะญอ บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครั้งที่ 1. กำแพงเพชร.