การพัฒนาระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธีรภพ แสงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ 2) ประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบสารสนเทศ และ
3) ประเมินการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบตามแบบจำลองแทม (TAM) โดยระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เป็นเว็บแอปพลิเคชัน ใช้รูปแบบในการพัฒนาแบบจำลองแบบน้ำตก (Waterfall Model) ใช้โปรแกรมสำเร็จ XAMPP ในการจำลองเว็บเซิร์ฟเวอร์ พัฒนาระบบและจัดการฐานข้อมูล โดยประกอบไปด้วยโปรแกรมอาปาเช่ (Apache), ภาษาพีเอชพี (PHP) และ ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML), ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) และ ภาษาซีเอสเอส (CSS) ในการออกแบบและพัฒนาหน้าตาของเว็บแอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบสารสนเทศจำนวน 3 คน และ 2) แบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า จำนวนทั้งหมด 30 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นระบบหน้าร้าน ผู้ซื้อสินค้าสามารถดูรายละเอียดเพื่อสั่งซื้อสินค้าและ ระบบหลังร้านเป็นส่วนของผู้ดูแลระบบและผู้ขายสินค้าเพื่อจัดการข้อมูลต่าง ๆ 2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบสารสนเทศของระบบพบว่า ระบบมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.64,
S.D. = 0.50) และ 3) ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานระบบพบว่า ผู้ใช้งานยอมรับเทคโนโลยีของระบบตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเกษตรกร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่อยูในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.26, S.D. = 0.51)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). คู่มือเปิดร้านออนไลน์ Easy Online Shop. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/

download/ecommerce.

กริณฑ์วัฏ รักงาม. (2560). องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ E-marketplace ของผู้บริโภค กรณีศึกษา Shopee ในเขต

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณิดา ไกรสันติ, ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล, วรรณิดา ไชยการณ์, เบญญา สังขศิลา, พรพรรณ มั่งคั่ง และเบญจวรรณ ขาวผ่อง. (2563).

การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านทำขนมสตูล ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควน กาหลง จังหวัดสตูล . ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คณิดา ไกรสันติ. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการจัดการผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุชาวดี ตำบลปริก

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 18(1), 39-60.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์แอนด์คอนซัลท์.

นเรศร์ บุญเลิศ. (2560). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

นูรุลฮุสนา อับดุลลาฏีฟ. (2565). เว็บตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการสั่งตัดออนไลน์จากศูนย์รวมร้านค้าผลิตชุดเครื่องแต่ง

กายมุสลิม ในการส่งเสริมการตลาดเพื่อการผลิตชุดเครื่องแต่งกายมุสลิมของวิสาหกิจชุมชนมัรกัสในจังหวัดยะลาสำหรับ เจาะตลาดอาเซียนและตะวันออกกลาง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(1), 31-43.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Dailytech ข่าวสารไอทีและเทคโนโลยีใกล้ตัวคุณ. (2562). เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) คืออะไร. สืบค้นจาก

https://www.dailytech.in.th/web-application-เว็บ-แอพพลิเคชั่น/

Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.