เครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ โดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้เครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานระบบ ได้แก่คณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และไมโครคอนโทรเลอร์ฮาร์ดแวร์ จำนวน 3 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ปฏิบัติหน้าที่พื้นที่เทคนิคกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 30 คน ส่วนเครื่องมือในการวิจัยคือ ชุดเครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ โดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาเครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ โดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง พบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนรับค่า (2) การประมวลผลจากเซ็นเซอร์ และ (3) ส่วนติดต่อ 2) ผลการประเมินผลการทดลองใช้เครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ โดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งโดย
การทดสอบการทำงานของเซ็นเซอร์ การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย ทุกระบบสามารถใช้งานได้ และสามารถควบคุมการทำงานได้ดีสอดคล้องกับผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบและ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ โดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งจากผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.39) และทฤษฎีของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (UTAUT) ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม สภาพสิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้งาน และความเข้ากันได้ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน อย่างมีนัยสําคัญ
Article Details
References
The Joanna Briggs Institute. (1997). Best Practice: Evidence Based Practice Information Sheets for Health Professionals. Retrieved from https://www.worldcat.org/title/67618074
โสภา อิสระณรงค์พันธ์. (2563). การพัฒนาระบบวัดสัญญาณชีพอัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (IOT). น่าน: โรงพยาบาลสนาม จังหวัดน่าน เขตสุขภาพที่ 2.
Sessler DI. (2008). Temperature monitoring and perioperative thermoregulation. Anesthesiology, 109(2), 318-38.
โรงพยาบาลรามคำแหง.(2559) “ภาวะหัวในเต้นผิดจังหวะ Cardiac Arrhythmia” สืบค้นจาก: https://ram-hosp.co.th/
news_detail.
Im, I., Hong, S., & Kang, M. S. (2011). An international comparison of technology adoption: Testing the UTAUT model. Information & Management, 48(1), 1–8.
วิริยาภรณ เตชะกฤตธีรพงศ์. (2559). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน ของบุคลากรในองค์การใน ประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 39(152), ตุลาคม - ธันวาคม.
ESP32. (2565). สืบค้นจาก http://www.lungmaker.com/การใช้งาน-esp32-arduino-ide/
เซ็นเซอร์ GY-906.(2565) สืบค้นจาก https://www.ec-bot.com/product/280/gy-906-infrared-temperature-sensor- module-gy-906-mlx90614esf-เซ็นเซอร์อุณหภูมิแบบไร้สัมผัส
MAX30100 pulse heart rate sensor HR module โมดูลวัดอัตราการเต้นหัวใจ. (2565). สืบค้นจาก
https://www.ab.in.th/product/654/max30100-pulse-heart-rate-sensor-module-โมดูลวัดชีพจร-อัตราการเต้น หัวใจ-และออกซิเจนในเลือด
ธีรถวัลย์ ปานกลาง, รักเกียรติ ขําดํารงเกียรติและรัตนสุดา สุภดนัยสร. (2564). การพัฒนาระบบตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย แจ้ง เตือนข้อความและภาพถ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์. วารสารวารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 27-38.
ขนิษฐา แซ่ลิ้ม, นพนรินทร์ อยู่เย็น, พสุธร ยวงใย และวีระศักดิ์ ชื่นตา. (2562). เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิใน
ร่างกายโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 (11-12). นครปฐม: มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม.
สุวณัฐ ปัญจศิริ และเขตโสภณ ลอสซ์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายในสถานการณ์โควิด-19. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.