แอปพลิเคชันคำนวณยาความเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาลวิสัญญี

Main Article Content

รัชนี ไตรยะวงศ์
ไกรลาศ บำรุงชาติ
ดวงรัตน์ เผยกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันคำนวณปริมาณยากลุ่มเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาลวิสัญญี  2) เพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคำนวณปริมาณยากลุ่มเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาลวิสัญญี แอปพลิเคชันคำนวณปริมาณยากลุ่มเสี่ยงสูงสำหรับวิสัญญีพยาบาลพัฒนาโดยโปรแกรม android studio  ได้รับการสนับสนุนข้อมูลโดยกลุ่มวิจัยพยาบาลและวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 20 คน จากพยาบาลกลุ่มงานวิสัญญีโรงพยาบาลนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจความพึงพอใจ สำรวจการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อแอปพลิเคชัน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  สถิติวิจัยประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยสมการถดถอยและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


            ผลการวิจัยแอปพลิเคชันคำนวณปริมาณยากลุ่มเสี่ยงสูงสำหรับพยาบาลวิสัญญี บนโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอย แอปพลิเคชันประสบความสำเร็จตามขอบเขตการพัฒนา เมื่อนำแอปพลิเคชันไปทดสอบพบว่าสามารถลดเวลาในการทำงานได้ สามารถลดข้อผิดพลาดในการคำนวณปริมาณยาความเสี่ยงสูงได้ สามารถคำนวณปริมาณยาที่มีความเสี่ยงสูงจากรายการยาที่กำหนดหรือป้อนขนาดยาเพื่อคำนวณขนาดยาเองได้ สามารถคำนวณขนาดยาที่มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่มีน้ำหนักปกติและน้ำหนักที่สูงกว่าปกติได้ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณปริมาณยาที่ผสมกับตัวทำละลายมาแล้วได้ สามารถเป็นเครื่องมือสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานบริการด้านวิสัญญี พยาบาลกลุ่มงานวิสัญญีได้ จากการศึกษาพบว่าโดยภาพรวมความพึงพอใจของระบบมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ระดับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ระดับ 0.39 และมีการยอมรับเทคโนโลยี โดยด้านการรับรู้ประโยชน์และง่ายต่อการใช้งานเป็นตัวตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยการยอมรับเทคโนโลยีที่ระดับ 4.76 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). (2561 ข). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของ

ประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.

วิธนี เกตุพุก, กนกกช บุศยน้าเพชร และอรรถยา เปลงสงวนรุจิรา โสภากร. (2559). การค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประ

สงค์จากยาโดยใช้ตัวส่งสัญญาณ ในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 12(3), 16–23.

Leape LL, Bates DW, Cullen DJ, et al. (1995). Systems analysis of adverse drug events. ADE prevention study group. JAMA, 274, 35–43.

Merry AF, Peck DJ. (1995). Anaesthetists, errors in drug administration and the law. N Z Med J, 108, 185–187.

Bowdle TA. (2003). Drug administration errors from the ASA closed claims project. ASA Newsletter, 6, 11-13.

Cooper L, DiGiovanni N, Schultz L, et al. (2012). Influences observed on incidence and reporting of medication errors in anesthesia. Can J Anesthm, 59, 562-707.

Black, S. Lerman, J. Banks, S E. Noghrehkar, D. Curia, L. Christine L. Mai, Deborah Schwengel, Corey K. Nelson,

James M.T. Foster, Stephen Breneman, and Kris L. Arheart. (2019). Drug Calculation Errors in Anesthesiology Residents and Faculty: An Analysis of Contributing Factors. ANESTHESIA & ANALGESIA, 128(6), 1292-9.

Green, M. S., Mathew, J. J., Venkatesh, A. G., Green, P., & Tariq, R. (2018). Utilization of Smartphone applications

by anesthesia providers. Anesthesiology Research and Practice, 1-10.

Shannon, Ratchford, Southward, et al. (2001). The development of a computerized equipment

and drug calculator for use in resuscitation. Emerg Med J: first published as 10.1136/emj.19.3.215.

Retrieved from www.emjonline.com.

แสงทิพย์ ครรลัย, นุชนาฏ ชุมคล้าย, ปวิตรา พันธ์คงดี และเรณู ชมพิกุล. (2564). เว็บแอปพลิเคชั่นคำนวณยาใน ทารก. TUH Journal online, 6(2), 14-19.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์, ปณัชญา เชื้อวงษ์ และธานิล ม่วงพู. (2562). แอปพลิเคชันคำนวณยากลุ่มเสี่ยง. Journal of Project in

Computer Science and Information Technology, 5(1), 42-51.

Leape Commission International. (2014). Joint Commission International Accreditation

Standards for Hospitals, 5th edition. Retrieved from https://www.jointcommissioninternational.

org/assets/3/7/Hospital-5E Standards-Only-Mar2014.pdf

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบําบัด โรงพยาบาลศิริราช. (2564) คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง High Alert Drug.

(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเภสัชกรรม และการบำบัด โรงพยาบาลศิริราช.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Davis, F.D., Bagozzi, R.P., & Warshaw, P,R. (1989). User acceptance of computer technology : Acomparison of

two theoretical models. Management Science, 35 (8), 982-1003.