การพัฒนาแบบจำลองทำนายผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีคด้วยเทคนิคดาต้าไมนิ่ง

Main Article Content

เบญจภัค จงหมื่นไวย์
เกรียงศักดิ์ ภุมรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองการทำนายผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีค โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำนายผลและวางแผนสำหรับนำไปใช้การตัดสินใจ
การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีค กลุ่มเป้าหมาย คือ ผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีค ระหว่างปี ค.ศ. 2012-2022 ได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3,992 เรคคอร์ด ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบบ CRISP-DM มีจำนวน 6 ขั้นตอน และใช้เทคนิคในการสร้างแบบจำลองข้อมูล 2 เทคนิค คือ การจำแนกข้อมูลด้วยต้นไม้ตัดสินใจและการค้นหากฎความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบเบย์ สถิติที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถูกต้อง


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแบบจำลองการทำนายผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีค แผนภูมิต้นไม้ที่มีผลต่อการทำนายผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีค ซึ่งแอททริบิวต์ที่มีผลสูงสุด ได้แก่ วันที่มากกว่า 77.80 ครั้ง จะเกี่ยวข้องกับ
ผู้ตัดสินผลฟุตบอลที่ชื่อว่า M Dean และ R East วันที่น้อยกว่าเท่ากับ 77.80 จะมีผลต่อประตูทีมเยือนครึ่งแรก
หากทีม PSCA มากกว่า 1.72 ส่งผลให้เจ้าบ้านทำผิดกติกา (HF) และถ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.72 ส่งผลให้ชนะเสมอ 2) ประสิทธิภาพของแบบจำลองร้อยละความถูกต้องของ 2 เทคนิค ได้แก่ Decision Tree, Naïve Bayes
ค่าความถูกต้องเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 80.67 อยู่ในระดับมาก และเทคนิคที่มีค่าความถูกต้องสูงสุด คือ Decision Tree ร้อยละ 98.58 รองลงมา คือ เทคนิค Naïve Bayes ร้อยละ 62.75

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ เจริญยิ่ง. (2563). การพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลโดยใช้ Rapid Miner. (สารนิพนธ์

ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ปริญญา ชินจอหอ, สายสุนีย์ จับโจร และเบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2564). การพัฒนาแบบจำลองเทคโนโลยีสารสนเทศใน

การคาดการณ์ อาชีพอนาคตของบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 20-32.

พุทธิพร ธนธรรมเมธี และเยาวเรศ ศิริสถิตย์กุล. (2562). เทคนิคการจำแนกข้อมูลที่พัฒนาสำหรับชุดข้อมูลที่ไม่สมดุลของภาวะข้อ เข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(6), 1164-1178.

มณฑิชา เกตุนะ. (2563). เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรธุรกิจ. วารสารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

รามคำแหง, 3(3), 14-30.

รัชพล กลัดชื่น และจรัญ แสนราช. (2561). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพอัลกอริทึมและการคัดเลือกคุณลักษณะที่เหมาะสม เพื่อ

การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี, 17(1), 1-10.

ศุภามณ จันทร์สกุล. (2561). เทคนิคเหมืองข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(2), 83-96.

สมศักดิ์ ศรีสวการย์ และสมัย ศรีสวย. (2563). การวิเคราะห์เหมืองความคิดเห็นโดยใช้เทคนิคการสกัดคำ. วารสารวิชาการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(2), 95-104.

สัญฌา พันธุ์แพง. (2563). การประยุกต์ใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลสำหรับการพยากรณ์การศึกษาต่อนักศึกษาใหม่ ระดับ

ปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุภัสสรา สมเจตนา และจารี ทองคำ. (2564). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเทคนิคเหมืองข้อมูลในการสร้างแบบจำลองเพื่อจำแนก

ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการใช้สมาร์ทโฟนของบุตร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,

(1), 21-30.