การพัฒนาระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์ทุกสรรพสิ่ง และ 3) เพื่อประเมิน
ความพึงพอใจของระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุโดยใช้อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสงฆ์สูงอายุ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต จำนวน 10 รูป โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 1) ตุ๊กตาสำหรับดูแลผู้สูงอายุ 2) แอปพลิเคชันระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ความต้องการของผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสูงอายุมีความต้องการใช้งานตุ๊กตาสำหรับดูแลผู้สูงอายุโดยการใช้แอปพลิเคชันสำหรับการแจ้งเตือนในการกินยาและการดูแลผ่านวิดีโอแบบเรียลไทม์ 2) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง พบว่า มีชิ้นงานโมเดลตุ๊กตาระบบผู้ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ถูกพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบสามมิติและมีฟังก์ชันการใช้งานตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ ได้แก่ การแจ้งเตือนการกินยา การดูวิดีโอแบบเรียลไทม์ และมีปุ่มกดฉุกเฉิน 3) ผลการประเมินความพึงพอใจระบบผู้ช่วยผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง พบว่าความสามารถในการแสดงผลวิดีโอแบบเรียลไทม์อยู่ในระดับมาก ( = 4.08,
S.D. = 0.46) ความสามารถในการตั้งเวลาแจ้งเตือนอยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.47) ความสามารถในการระบุตำแหน่งจีพีเอสอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.33) ความสามารถในการใช้ปุ่มฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. = 0.67) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.48)
Article Details
References
กันยาลักษณ์ โพธิ์ดง และคณะ. (2564). หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ, 31(1), 130-143.
ชัชพงศ์ ท้าววิราษ. (2561). การพัฒนาเทคโนโลยีระบุบอกตำแหน่งและระบบค้นหาเส้นทางเพื่อถึงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยการวิเคราะห์
โครงข่ายและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัชวาลย์ วงค์ชัย และวิจิตรา มนตรี. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันอุ่นใจผู้สูงวัย. Rattanakosin Journal of Science and
Technology: RJST, 2(3), 47-60
ชัชวิน นามมั่น และคณะ. (2560). แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2560. สืบค้นจาก
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
โรบอทสยาม อุปกรณ์หุ่นยนต์ Arduino. (2563). “โปรเจค ESP32 แสดงตำแหน่งจาก GPS Module ด้วย Google Maps”. สืบค้นจาก https://www.robotsiam.com/
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2562). การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2561). ยูเอ็มแอล. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ยูเอ็มแอล
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2561). อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2560). อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org
สุภลักษณ์ ธานีรัตน์ และพัชรินทร์ วรรณโพธิ์. (2562). การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก
สุริยา ฟองเกิด และศุภรา หิมานันโต. (2564). การบริการสังคมด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ตำบล
บ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 115-129.
สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). สถิติประชากรผู้สูงอายุรายจังหวัด. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/
StatMIS/#/ReportStat/3
Fowler, Chris. (2004). The archaeology of personhood. An anthropological approach. London and New York: Routledge.
OMG. (2005). Unified Modeling Language – Version 2.0. Retrieved from https://glossar.hs- augsburg.de/OMG_(2005)_Unified_Modeling_Language_%E2%80%93_Version_2.0
Marketeer Team. (2564). จำนวนผู้สูงอายุไทย ปี 65 ทำไมเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ. สืบค้นจาก
https://marketeeronline.co/archives/272771
Tnnthailand. (2564). เปิดข้อมูลประเทศไทยเข้าสู่สังคม ‘ผู้สูงอายุ’ โดยสมบูรณ์แล้วปีนี้-กทม.มีผู้สูงวัยสูงสุด. สืบค้นจาก