การพัฒนาระบบคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีไอโอที
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีไอโอที 2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบที่ได้พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาการยอมรับของผู้ใช้ ตามแนวคิดการยอมรับเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีไอโอที 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีไอโอที สามารถควบคุมการเปิด-ปิดถังขยะ คัดแยกขวดโลหะ ขวดพลาสติกพร้อมทั้งบอกจำนวนขยะที่รับเข้าและแสดงพิกัดของถังขยะผ่านแอปพลิเคชันไลน์
2) ผลของการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ จำนวน 10 รอบ พบว่า ระบบสามารถสั่งเปิด-ปิดถังขยะ พร้อมทั้งคัดแยกชนิดของโลหะ และพลาสติกได้พร้อมกับระบุจำนวน และพิกัดผ่านโทรศัพท์มือได้ถูกต้อง และผลการประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 ท่านอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลของการศึกษาการยอมรับของผู้ใช้ตามแนวคิด
การยอมรับเทคโนโลยีจากกลุ่มตัวอย่างพบว่าอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). คู่มือแนวทางการลดและข้อกาหนด เบื้องต้นการลดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพเศรษฐกิจ. (2563). ประเทศไทย 2563: สถานการณ์ขยะในไทย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/
news/detail/863554
จิตรภานุ วุฒิกรวิภาค และธัญพล โต๊ะซา. (2560). ถังขยะอัจฉริยะ. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
อานนท์ เนตรยอง และ ธิติมา นริศเนตร. (2562). ถังขยะอัจฉริยะ. ใน การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษ่ระดับชาติ ครั้งที่ 2
(น.128-133), กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คณสรณ์ ผิวบาง, ศรัณยู พรหมยุทธนา, และการตรัตน์ ขำดำ. (2562). เครื่องคัดแยกขวดอัตโนมัติ. (ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร
บัณฑิต). นครราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นิติคม อริยพิมพ์ และอนุชา ดีผาง. (2564). อุปกรณ์ควบคุมการทำงานมิเตอร์ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรม
การอาชีวศึกษา, 5(1), 128-137.
รุจกา สถิรางกูร, พัลลภา มิตรสงเคราะห์ และอำนวย วิชญะลาส. (2564). การพัฒนาต้นแบบระบบการตรวจสอบการเข้าเรียนโดย
ใช้ IoT และ RFID. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 8(2), 34-47.
ธานิล ม่วงพูล และอวยไชย อินทรสมบัติ. (2560). การพัฒนาระบบระบายความร้อนด้วยท่อทำความเย็นแบบท่อทองแดงร่วมกับ
ไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 4(2), 47-56.
กระวี ตรีอำนรรค, เทวรัตน์ ตรีอำนรรค, กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล และอนุสรา ติดตารัมย์. (2562). รายงานผลการวิจัย การพัฒนา
เครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติสำหรับการคว้านเมล็ดและปลอกเปลือกเงาะเพื่อการแปรรูปผลผลิตระดับวิสาหกิจชุมชน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
อัษฎายุธ น้อยผล และ นพดล มณีรัตน์. (2560). เครื่องคัดแยกโลหะโดยใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค. วารสารวิศวสารลาดกระบัง, 34(2), 16-22.
พิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัย. (2565). ถังขยะอัตโนมัติระบบไอโอที. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6(1), 31-42.
ทิพานัน พงษ์สุวรรณ, อนุพงษ์ ติตะ และภานุวัตร อุทัยบาล. (2562). ระบบติดตามถังขยะอัจฉริยะ. PULINET Journal, 6(2),
-50.
ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์ และชุติธารรัฐ อุตมะสิริเสนี. (2564). การพัฒนาต้นแบบระบบถังขยะไอโอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลการทิ้ง
ขยะแบบออนไลน์ของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 7(1), 54-62.
บุญธง วสุริย์, สัญญา ควรคิด และธานิล ม่วงพูล. (2565). ต้นแบบเตาเผาขยะติดเชื้อด้วยเทคนิคแก๊สซิฟิเคชัน. วารสารวิชาการการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(1), 90-102.
วุฒิชัย พรพัชรพงศ์ และภัทราวัลย์ คําปลิว. (2565). ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยโดยใช้ภาพถ่ายความร้อนและภาพเหตุการณ์จริงแบบ
ประหยัด. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 9(1),73-82.