การพัฒนาแชทบอทสำหรับการสื่อสารข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัย The Development of Chatbot for University Information services

Main Article Content

นฤทธิ์ตา สุดสงวน
ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัลกอริทึมการประมวลผลสำหรับการพัฒนาระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติ 2) พัฒนาระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติสำหรับข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องและเหมาะสม (Chat Bot) และ 3) ศึกษาประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติ (Chat Bot) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกจำนวน 30 คน
โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ประยุกต์ จำนวน 5 ท่าน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัย  2) แบบประเมินความถูกต้องและความเหมาสมระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้งานที่มีต่อระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสรุปการทดสอบการเปรียบเทียบอัลกอริทึมของชุดข้อมูลตัวอย่างพบว่าการประมวลผล
ค่าความเหมือนอัลกอริทึมฟัซซีวัซซี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.28 ซึ่งมีค่ามากกว่าอัลกอริทึมการประมวลผลแบบภาษาธรรมชาติ
ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 42.04 และ 2) ผลการประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของระบบโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติ
โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 อยู่ในระดับดีมาก และ
3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.05, S.D. = 0.73)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Pcmag. (2016). Chatbot Definition from PC Magazine Encyclopedia. https://www.pcmag.com/encyclopedia/term/chatbot

Patipan Prasertsom. (2020). สกัดใจความสำคัญของข้อความด้วยเทคนิคการประมวลผลทางภาษาเบื้องต้น. BigData Thailand. https://bigdata.go.th/bigdata-101/tf-idf1

Fuzzywuzzy.(2020). Pypi. https://pypi.org/project/fuzzywuzzy/

วิชุดา ไชยศิวามงคล และคณะ. (2565). การพััฒนาไลน์แชทบอทสําหรับระบบห้องสมุุดอัตโนมุัติสํานักงานคณะกรรมุการการศึึกษาขั้ันพั้นฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2564 (ปีที่ 30 ฉบับที่ 6,หน้าที่ 1-18. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/254969/175518

ณิชารีย์ กิตติคุณศิริ และจารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แชทบอท บริบทประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2133

พงศกร อุทารจิตต์ . (2564). การพัฒนาหุ่นยนต์สนทนาสำหรับแนะนำคุณแม่มือใหม่ . [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

G. Appa Rao, G. Srinivas, K. Venkata Rao and P.V.G.D. Prasad Reddy. (2561). "A Partial Ratio and Ratio Based Fuzzy-Wuzzy Procedure for Characteristic Mining of Mathematical Formulas from Documents." ICTACT Journal on Soft Computing. ISSN: 0976-6561.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis And Design). กรุงเทพฯ, เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). "มาตรวัดลิเคอร์ท". สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/view/5830/5467

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.