การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน Synthesis of Computer Vocabulary Management Models to Enhance the Learning of Hearing Impaired Learners

Main Article Content

พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
ธรัช อารีราษฎร์
วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สังเคราะห์และสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมายในการสำรวจข้อมูล จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ 5 คน และผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน รูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ส่วน ได้แก่ (1) นโยบายและกรอบแนวคิด (2) ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (3) ผู้ที่เกี่ยวข้อง (4) กระบวนการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์ (5) เทคโนโลยี และ (6) ตัวชี้วัดของรูปแบบ และ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 


คำสำคัญ: รูปแบบ, การสังเคราะห์, นักศึกษาบกพร่องทางการได้ยิน, การบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรภัทร คำโส วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการคัดแยกและส่งต่อคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจำแนกความพิการเพื่อการศึกษา. (2543). คูมือการคัดแยกและสงตอคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวคิดการจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพของคนพิการ : บริบทของสถานการณ์ กระบวนทัศน์และแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะของมนุษย์ทุกคน. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2162-2192.

ศรียา นิยมธรรม. (2541). ความบกพร่องทางการได้ยิน ผลกระทบทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พีเออาร์ตแอนพริตติ้ง.

ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550)

สมเจตน์ ภูศรี พิสุทธา อารีราษฎร์ วิทยา อารีราษฎร์ และ ธวัชชัย สหพงษ์. (2553). รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย. (2538). สภาพปัญหาของคนหูหนวก. กรุงเทพฯ:

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จ ากัด.

อาภา วรรณฉวี. (2564). การวิจัยเอกสาร. สืบค้นจาก https://bsru.net/การวิจัยเอกสาร-documentary-research/

อิริยา ผ่องพิทยา. (2553). การพัฒนาเว็บการเรียนการสอนภาษามือทางการศึกษาพิเศษผ่านสื่ออเิ ล็กทรอนิกส์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ส าหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ.

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Policy Press.

Sumak, B., Polancic, F. & Hencko, M. (2010). An Empirical Study of Virtual Learning Environment Adoption Using UTAUT. 2010 Second International Conference on Mobile, Hybrid, and On-Line Learning.