ผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน The Results of the Development of a Computer Vocabulary Management System to Promote Learning of the Hearing Impaired Learners

Main Article Content

พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม
ธรัช อารีราษฎร์
วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือและระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน 2) ประเมินคู่มือและระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือและระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คน ล่ามภาษามือ จำนวน 5 คน และนักศึกษา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการคำศัพท์และคู่มือการใช้ระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ Communication Module, Create computer vocabulary Module, Check computer vocabulary Module, Computer vocabulary Module และ Computer terminology Module คู่มือการใช้งานของระบบ จำนวน 4 ชุด คือคู่มือผู้เชี่ยวชาญ คู่มืออาจารย์ผู้สอน คู่มือล่ามภาษามือ และคู่มือนักศึกษา และ 2) ผลการประเมินคู่มือและระบบโดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ (1) องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด (3) ความเหมาะสมของระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (4) ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการทดลองใช้ระบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 4 กลุ่ม รับรู้การทำงานของระบบและมีความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือและระบบอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 (2551, มกราคม 27). ราชกิจจานุเบกษา, 125(28ก), 1-13.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2565). รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คู่มือการคัดแยกและส่งต่อคนพิการเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจำแนกความพิการเพื่อการศึกษา. (2543). คูมือการคัดแยกและสงตอคนพิการเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา

ลาดพร้าว.

ศรียา นิยมธรรม. (2541). ความบกพร่องทางการได้ยิน ผลกระทบทางจิตวิทยา การศึกษาและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พีเออาร์ตแอนพริตติ้ง.

สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย. (2538). สภาพปัญหาของคนหูหนวก. กรุงเทพฯ: สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย.

สมเจตน์ ภูศรี, พิสุทธา อารีราษฎร์, วิทยา อารีราษฎร์ และธวัชชัย สหพงษ์. (2553). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เครือ

ข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อิริยา ผ่องพิทยา. (2553). การพัฒนาเว็บการเรียนการสอนภาษามือทางการศึกษาพิเศษผ่านสื่ออเิ ล็กทรอนิกส์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2565). การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการคำศัพท์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้

เรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน. วารสารการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 37-46.

กาญจนา ดงสงคราม, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบ

โครงการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.