การส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Promoting 21st (4Cs) Century Skills in Critical Thinking and Problem Solving in Creativity-Based Learning.

Main Article Content

ลาวัณย์ ดุลยชาติ
สุรจักษ์ พิริยะเชิดชูชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (4Cs) ของแผนการเรียนรู้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในรายวิชา การส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่ามีค่าดัชนีสมดุล 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยากระหว่าง 0.44-0.69 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50-0.88 ความน่าเชื่อถือโดยรวมคือ 0 95 3) แบบประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่ามีค่าดัชนีสมดุล 1.00 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจพบว่ามีค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล               


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเหมาะสมของแผนส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 (4Cs) ของแผนการเรียนรู้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมากที่สุด (= 476, SD= 0.44) 2. ผลการทดลองของ แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ดัชนีความรู้ด้านประสิทธิผล เท่ากับ 0.70 หรือร้อยละ 70 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76, SD= 0.39) และ 3) ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (4Cs) อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.83, SD= 0.38)

Article Details

How to Cite
ดุลยชาติ ล., & พิริยะเชิดชูชัย ส. (2023). การส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน : Promoting 21st (4Cs) Century Skills in Critical Thinking and Problem Solving in Creativity-Based Learning. วารสารวิชาการ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 9(1), 113–128. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/249266
บท
บทความวิจัย

References

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :.

สาขาคอมพิวเตอร์. (2560). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรห้าปี) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

สาขาคอมพิวเตอร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

Rukchaipanit, V. (2015). การ สอน แบบ สร้างสรรค์ เป็น ฐาน: Creativity-based Learning (CBL). Walailak Journal of Learning Innovations, 1(2), 23-37.

Chu, S. K. W., Reynolds, R. B., Tavares, N. J., Notari, M., & Lee, C. W. Y. (2021). 21st century skills development through inquiry-based learning from theory to practice. Springer International Publishing.

วิระยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Karatas, K., & Arpaci, I. (2021). The role of self-directed learning, metacognition, and 21st century skills predicting the readiness for online learning. Contemporary Educational Technology, 13(3).

Nguyen, T. T. H., & Jongkonklang, S. (2018). A study of 21st century learning skills for high school students in Cao Bang Province, Vietnam. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 6(2), 14-24.

ณัฏฐ์ โอ้จินดา. (2563).การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 13 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), หน้า 73-86

มงคล เรียงณรงค์, & ลัดดา ศิลาน้อย. (2015). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูป แบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. JOURNAL OF EDUCATION KHON KAEN UNIVERSITY, 38(4), 141-148.

ศิริญาพร ปรีชา. (2558). การประยุกต์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก “นวัตกรรมการเรียนรู้.” 14-15 พฤษภาคม 2558. สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ม.ป.ท.

Chaijaroen, K., & Thonghaew, S. (2020). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 16-25.

วิพรพรรณ ศรีสุธรรม (2562) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราขภัฎมหาสารคาม.

Likert, Rensis. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude theory and measurement. (pp. 90-95). Wiley.

เผชิญ กิจระการ. (2544). ดัชนีประสิทธิผล.มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.