การพัฒนาเว็บแอพลิเคชัน เพื่อสนับสนุนการให้บริการ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

อดิเทพ สภาพักตร์
ธิดานุช พุทธสิมมา
อาทิตยา อรุณศรี
อนาวิล คำเพ็ชร
ภูชิต ภูบาลชื่น
ศักดินนท์ หาญพนม

บทคัดย่อ

การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ  มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานเว็บ แอพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาโดยใช้ Visual Studio Code, XAMPP, React, NodeJS และ MySQL พัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบบ SDLC สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


การออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบแบ่งการใช้งานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนบันทึกข้อมูล ผู้ใช้ คือ นักศึกษา 2) ส่วนตรวจสอบข้อมูล การอนุมัติคำขอ ผู้ใช้ คือ อาจารย์นิเทศก์ 3) ส่วนประเมินผล ผู้ใช้ คือ สถานประกอบการ 4) ส่วนผู้ดูแลระบบ ผู้ใช้ คือ เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา และความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.09

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apogee-ccd. (2563). เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน” ที่อยู่รอบตัวเรา เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต. https://apogee-ccd.com/2020/07/08/เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2566). สหกิจศึกษา. https://apro.nrru.ac.th

อนัญญา เดชะพันธ์, และอติวิชญ์ มิตรงาม. (2563). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันสำหรับค้นหาสถานบริการอู่ซ่อมรถบนระบบแผนที่ออนไลน์ กรณีศึกษา: เทศบาลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,

(2), 86-104.

Viet Linh Vu. (2020). Developing An Information System Solution With React. (Bachelor’s Thesis). Lab University Of Applied Sciences Ltd. Retrieved from https://www.theseus.fi/bitstream/handle/10024/354713/Linh%20Vu.pdf?

วุฒิภัทร หนูยอด, เจษฎา สิงห์ทองชัย, และมานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 14(19), 96-106.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. (พิมพ์ที่ 3). ภาควิชาการวัดผลและวิจัย การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาร์น.

ชุติมา ปาลวิสุทธิ์. (2562). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณรัตน์ ลาวัง, อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน, จักริน สุขสวัสดิ์ชนและ อโนชา ทัศนาธนชัย. (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น สมาร์ทการดูแล เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Alom, Mohammed. (2020). Social Awareness Web Application. [Bachelor ’s thesis]. Cork institute of technology. doi: 10.13140/RG.2.2.34720.30728