ผลการทดลองใช้คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห

Main Article Content

แจ่มนภา ล้ำจุมจัง
สุนันทา กลิ่นถาวร
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 2) ประเมินความเหมาะสมของคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของคู่มือ จำนวน 9 คน และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกตอนปลาย ชุมนุมนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินคู่มือกิจกรรม การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้น ได้แก่ (1) การทดสอบก่อนเรียน (2) เรียนรู้ตามขั้นตอนของโครงงาน 5 ขั้น คือ (2.1) เรียนรู้จากสถานการณ์ (2.2) ผสานความรู้สู่การวางแผน (2.3) ปฏิบัติตามแผนสร้างชิ้นงาน (2.4) เขียนรายงาน ด้วยความมุ่งมั่น และ (2.5) นำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์ และ (3) การทดสอบหลังเรียน 2) การประเมินความ เหมาะสมของคู่มือกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และคู่มือผู้เรียน และคู่มือวิทยากรและพี่เลี้ยงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการทดลองใช้คู่มือกิจกรรมการเรียนรู้ ของรูปแบบ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมี (1) คะแนนเฉลี่ยการทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) คะแนนเฉลี่ยการทดสอบการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพิมล ธรรมสรางกูร. (2559). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2550). กลยุทธ์-การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

Jonassen, D.H. et al. (2003). Learning to Solve Problems with Technology : a Constructivist perspective.

Nj: Merrill Prentice Hall.

ดนุภัค เชาว์ศรีกุล ธีรวุฒิ เอกะกุล และกฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอินฟอร์เมชั่น. 22(1), 49-58.

เอก กนกพิชญ์กุล. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสงเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ชัยยง พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรภัทร คำโส, วรปภา อารีราษฎร์, และธรัช อารีราษฎร์. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินเมือง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

กาญจนา ดงสงคราม, วรปภา อารีราษฎร์, และธรัช อารีราษฎร์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ AOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ดวงจันทร์ วรคามิน. (2559). โครงการการศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

แจ่มนภา ล้ำจุมจัง, สุนันทา กลิ่นถาวรณ์, และธรัช อารีราษฎร์. (2566). การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์. วารสารการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 122-132.

อภิชาติ เหล็กดี, วรปภา อารีราษฎร์, และปานใจ ธารทัศนวงศ์. (2560). รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมโดยใช้เทคนิคการสอนงานแบบมีส่วนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.