ระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำปาง Development and Synthesis of an Information System on Physical Nutritional Status in Early Childhood: A Network of Early Childhood Development Centers in Lampang Province

Main Article Content

สมัย ศรีสวย
วีรศักดิ์ ฟองเงิน
สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทภาวะโภชนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำปาง 2) พัฒนาระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำปาง และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาบริบทภาวะโภชนการด้านร่างกาย น้ำหนักและส่วนสูงเด็กปฐมวัย เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดลำปาง พบว่า มีทั้งหมดจำนวน 100 ศูนย์และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้ากรอกข้อมูลเรียบร้อย จำนวน 30 ศูนย์ 2) จากการพัฒนาระบบสารสนเทศภาวะโภชนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดลำปาง รวมทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบด้วย 2.1) ส่วนนำเข้าข้อมูล ได้แก่ข้อมูลพื้นฐานเด็ก 2.2) ส่วนปรับปรุงข้อมูล 2.3) ส่วนรายงานผล และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศภาพโดยรวมระดับมากที่สุด ( gif.latex?\overline{x}= 4.55, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พจนีย์ วัชรกานนท์. (2565). ภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกรมการแพทย์, 47(3), 129-

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักโภชนาการ. (2558). คู่มือ แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้าน โภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี. สำนักพิมพ์

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

วีรวัลย์ ศิรินาม.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลางอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล

และการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 226-235.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนักส่วนสูงและเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทยอายุ1 วัน-19 ปี.

นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 16 มีนาคม 2564, จาก

https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/193981

จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่, และวิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. (2561). สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนโดยมีครอบครัว

และชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 169-185.

อดิษา สังขะทิพย์ และสุวลี โล่วิรกรณ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในตําบลกุดปลา

ดุก อําเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 178-189.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทิพวิมล ชมภูคำ, วิริยา พลเสนา, และสมร เหล็กกล้า. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามและดูแลควบคุมภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน กรณี

ศึกษาโรงเรียนบ้านมะโบ่ ตำบลลานสะแก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมคณะเทคโนโลยี

สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 163-175.