การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม Development of digital media to promote community products in Khaen Subdistrict, Wapi Pathum District, Mahasarakham Province

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล 
2) ออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3) สร้างสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ จำนวน 20 คน กลุ่มลูกค้าทั่วไปจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสื่อดิจิทัลนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อดิจิทัลนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล องค์ประกอบของการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สื่อดิจิทัล (Digital Media) ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการจำหน่าย (Promote Marketing) ส่วนที่ 3 การสื่อสารผู้ซื้อและผู้ขาย (Communication) และ ส่วนที่ 4 การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) 2) การออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า  ตราสินค้าและฉลากสินค้า มี 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์กระติบข้าว และกลุ่มแปรรูปอาหาร ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของตราสินค้าและฉลากสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.47)  3) การสร้างสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า มีองค์ประกอบของหน้าจอสื่อดิจิทัล 4 ส่วน ได้แก่ (1) ชื่อหน่วยงาน (2) ตราสินค้า (3) พื้นที่นำเสนอ VDO และ (4) บทบรรยาย โดยเป็นสื่อนำเสนอขั้นตอนการผลิตกระติบข้าวของกลุ่มผลิตภัณฑ์กระติบข้าว และขั้นตอนการทำไส้กรอกสมุนไพรของกลุ่มแปรรูปอาหาร ในรูปแบบวิดีทัศน์ มีความยาวไม่เกิน 5 นาที ที่นำเสนอในช่องออนไลน์ ทั้ง Facebook  และ YouTube จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) การศึกษาผลการทดลองใช้สื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าทั่วไป มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
( = 4.43, S.D. = 0.50)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ณัชชา เจริญศรี. (2563). ผลกระทบโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจ. https://www.storehub.com/blog/covid-19

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). บทที่ 7 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคเฃื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 19(1), 80-87.

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2565). โครงการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ มะนู. (2559). สื่อดิจิทัล (Digital Media). http://paitoon.esdc.go.th/sux-dicithal

อภิชาติ วาที. (2556). การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา : กลุ่มอาชีพทอเสื่อกกในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบัววง อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ, กระทรวงต่างประเทศ.

พิบูล ไวจิตรกรรม. (2565). การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง, วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 34(1), 102-113.

สุทธิพงษ์ คล่องดี และนลินี ชนะมูล. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 75-83.

ฐะณุพงศ์์ ศรีีกาฬสินธุ์ และฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ. (2564). การพัฒนาสื่อดิิจิทัลในการประชาสัมพันธ์การตลาดของธุรกิจชุมชนกรณีชุมชนหินตั้ง - บ้านดง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(1), 11-21.

จริยา รสหอม, วรปภา อารีราษฎร์ และกาญจนา ดงสงคราม. (2565). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน, วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 8(1), 65-77.

Best, John. W. (1997). Research in Education (3nd ed.). Prentice-Hell.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์, ธเนศ ยืนสุข และทิพวิมล ชมภูคำ. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับให้ความรู้ มารดาหลังคลอดในโรงพยาบาล, วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 64-73.