การพัฒนาระบบการตรวจสอบสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม Development of Parcel Tracking Status System via the LINE Application of the Faculty of Science and Technology, Pibulsongkram Rajabhat University
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการสร้างระบบที่ช่วยให้บุคลากรสามารถติดตามสถานะของพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ 2) พัฒนาระบบสำหรับบุคลากรสามารถติดตามสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้กับบุคลากร และ 3) ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรกับระบบติดตามสถานะพัสดุผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางในการสร้างระบบ 3) บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อระบบติดตามสถานะพัสดุที่ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันไลน์ (โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าระบบดังกล่าวสามารถให้บริการติดตามพัสดุได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และทางเลือกในการสื่อสารของบุคลากร
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2565) การสื่อสารผ่าน Line ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในสถานการณ์โควิด 19. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 5(2), 43-50.
บุญพา ดิษฐเจริญ. (2565). คู่มือการปฏิบัติงาน: กระบวนการจัดการเอกสารและ สิ่งของทางไปรษณีย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่ 1, หน้า 20). สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชาติชาย ยิ้มสุวรรณ. (2561). มีแทรคกิ้ง : แอปพลิเคชันสำหรับค้นหาตำแหน่งและติดตามสินค้า. [สารนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเว็บ วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี]. มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.
เย็นฤดี หนูเพชร, โพธิเศรษฐ์ โพธิ์ปลอด, อรดา โอภาสรัตนากร, ทิพวรรณ ทองขุนดํา, และ วีรศักดิ์ ทวีเมือง. (2564). การพัฒนาระบบสนับสนุนให้คําปรึกษาการจัดการเรียนการสอน โดยการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify ของนักศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช,13(3), 148-159.
ปราริชาติ รื่นพงษ์พันธ์. (2565). การพัฒนาระบบการจองสิทธิ์ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(2), 75-86.
ชัยพร คำเจริญคุณ. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT NU Library เพื่อการให้บริการร่วมกับ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 “Library Transformation in a Disrupted World”, (น. 39 – 49). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. Harper and Row.
ทัศน์กร อินทจักร์. (2564). รายงานการวิจัย : พฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน . วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน.
กัญญาวีร์ สมนึก, ตรีรัตน์ พิทักษ์สืบสกุล, หนึ่งฤทัย เยาวพิน, ณัฐพงศ์ หงษ์ผ้วย, สุสิตรา สิงโสม, และ ศิริวิมล อู่ทองมาก (2566). การพัฒนาระบบ Sci-eService ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิชาการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 13(1), 58-71.
ณพวุฒิ โพธิ์หอม. (2561). อุปกรณ์แจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน Line , SMS และ E-Mail. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.