การพัฒนาระบบแชทบอท เพื่อสนับสนุนการให้บริการ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

อาทิตยา อรุณศรี
ธิดานุช พุทธสิมมา
อดิเทพ สภาพักตร์
อนาวิล คำเพ็ชร
ภูชิต ภูบาลชื่น
ศักดินนท์ หาญพนม

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบแชทบอท เพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบแชทบอท เพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบแชทบอท เพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พัฒนาโดยใช้ Official LINE Account, Line Bot Designer, Line Messaging API, Dialogflow, Webhook และ Flex Message ตามลำดับขั้นตอนในการพัฒนาระบบแบบ SDLC โดยใช้สถิติในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน


ดังนั้นบทความวิจัยนี้เสนอการออกแบบและพัฒนาระบบแชทบอท เพื่อสนับสนุนการให้บริการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้ชื่อว่า สหกิจศึกษา บริการหลักของ สหกิจศึกษา ได้แก่ การให้ข้อมูลสหกิจศึกษา เอกสารนักศึกษา เอกสารอาจารย์นิเทศ เอกสารสถานประกอบการ และคำแนะนำการให้บริการสหกิจศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2566). ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ., จาก https://coop.sut.ac.th

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2566). สหกิจศึกษา., จาก https://apro.nrru.ac.th

ณภัทร ไชนพราหมณ์, ณัฐวุฒิ ทุมนัต, และชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2563). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาผ่านไลน์บอท. Journal of Information Science and Technology, 10(2), 59-70.

สมภพ มุสิกร, และพิมรินทร์ คีนินทร์. (2564). การพัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการ PSRU-LIB Line Bot ร่วมกับห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI Auto Lib สำหรับห้องสมุด 4.0. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1), 114-127.

สุมนา บุษบก, ณัฐพร เพ็ชรพงษ์, และจีรนุช สิงห์โตแก้ว. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับงานบริการนักศึกษา กรณีศึกษากองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 85-94

สาวิตรี วงษ์นุ่น. (2563). การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line notify API ในสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(3), 178-187

วสุ บัวแก้ว, และปณิธิ เนตินันทน์. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. (น. 2406-2413). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

เกียรติพันธ์ศักดิ์ บิลอับดุลล่าห์. (2564). การประยุกต์ใช้ Chatbot สนับสนุนงานสอบสวนกรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเบตง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สุธิพัฒน์ อินประเสริฐ, มีนนภา รักษ์หิรัญ, และมนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์. (2563). แชทบอทตอบคำถามโรคประจำตัวของผู้สูงอายุอัตโนมัติ. ใน การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, ชลบุรี

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2554). วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์., จาก http://cslabs.jowave.com/MIS/Book/group7/7_1.html