การพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

Main Article Content

ณัฐพงศ์ พลสยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ 2) ประเมินความเหมาะสมของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ 3) ถ่ายทอดระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือสู่ชุมชนกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง  และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เทคโนโลยีแบบไร้สาย จำนวน 3  คน เพื่อประเมินคุณภาพการพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบ 4) แบบทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ 5) แบบสอบถามผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ  พบว่า องค์ประกอบของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก  คือ ส่วนที่ 1 แอพพลิเคชั่นควบคุมการเปิด-ปิด/ตั้งเวลาการทำงานระบบ ประกอบด้วย 1) ส่วนแสดงสถานะการทำงานของระบบ 2) ส่วนเปิด-ปิดระบบ 3) ส่วนตั้งเวลา เปิด-ปิดระบบ 4) ส่วนแสดงค่าอุณหภูมิระบบ 5) แสดงได้รับการแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์  ส่วนที่ 2 องค์ประกอบโครงสร้างสมองกลฝังตัวประกอบด้วย 1) อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย Relay Module,บอร์ด ESP8266 , DTH 11 เซ็นเซอร์  2) ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย  Arduino IDE  ส่วนที่ 3  IOT PLATFORM ประกอบด้วย BLYNK SERVER  2) ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.59, SD. = 0.09) และ 3) ผลการถ่ายทอดสู่ชุมชนการใช้งานระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในครัวเรือนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอโอทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ พบว่า 3.1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 100 3.2) ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 3.3) ผลกระทบที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบในครัวเรือน ในช่วงระยะเวลา 30 วัน พบว่า ระบบตัดการทำงานเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินขนาดแต่ละครัวเรือน อยู่ในช่วง 2-6 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ
6.67-20.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG

และโครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University) (2565).จดหมายข่าวพระวรุณ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม,ปีที่ 50,ฉบับที่ 017

ตำบลโคกสีทองหลาง (2565).ตั้งอยู่ เขต7 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สรพงษ์ วชิรรัตนพรกล. (2560). ระบบสมองกลฝังตัวเพื่อการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้า X10.

วารสารเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้า,1(1), 10-14

ณัฐพงศ์ พลสยม, กาญจนา ดงสงคราม และเกียรติภูมิ กุภาพันธ์ (2562).การพัฒนาระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะควบคุมผ่าน

แอพพลิเคชั่นแบบสมองกลฝังตัว.วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 5 (2),84-93

P. Serikul, N. Nakpong and N. Nakjuatong, Smart Farm Monitoring via the Blynk IoT Platform. Case Study.Humidity

Monitoring and Data Recording,2018 16th International Conference on ICT and Knowledge Engineering (ICT&KE),

Bangkok, Thailand, 2018, pp. 1-6

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร

เหนือ. 16 กุมภาพันธ์ 2566

ชัชชติภัช เดชจิรมณี, ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ, กอบกูล จันทรโคลิกา และธาตรี จันทรโคลิกา (2565) .

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) .วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม