ระบบเช็คชื่อเข้าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วยการรู้จำใบหน้า: กรณีศึกษา คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Facial Recognition-Based Computer Lab Attendance Checking System: A case Study of The Faculty of Computer Science, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Main Article Content

สุริยนต์ สาระมูล
รชฏ มนตรี
ชัชวาลย์ ศรีมนตรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอการศึกษาวิธีการตรวจจับใบหน้า และการรู้จำใบหน้าโดยการใช้ไลบรารี่ face_recognition สำหรับวิธีการตรวจจับใบหน้าใช้เทคนิค HOG & Linear SVM ส่วนวิธีการรู้จำใบหน้าใช้เทคนิคการเปรียบเทียบความคล้ายกันของใบหน้า 2 ใบหน้าโดยการใช้ฟังก์ชันระยะห่างยูคลิเดียน ในการทดลองหาความคล้ายกันของใบหน้า ได้นำใบหน้าของคนมาทั้งหมด 20 คนจากฐานข้อมูล lfw และใช้วิธีการทดลองแบบ 20-way-1-shot และ 20-way-3-shot ผลการทดลองที่ได้ให้ค่าระยะห่างของใบหน้าเฉลี่ยเป็น 0.403508846 และ 0.412437762 ตามลำดับ ถือว่ามีความแตกต่างกันน้อยมาก และให้ค่าความแม่นยำของการรู้จำใบหน้าคิดเป็น 100% เมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเช็คชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้ค่าความแม่นยำของการเช็คชื่อนักศึกษาได้ถูกต้องเฉลี่ยที่ 83.33% เช็คชื่อนักศึกษาไม่ถูกต้องเฉลี่ยที่ 0% และเช็คชื่อนักศึกษาเป็นไม่รู้ว่าเป็นนักศึกษาคนใดเฉลี่ยอยู่ที่ 16.67% โดยระบบที่พัฒนาขึ้นทำในรูปแบบเว็บแอพลิเคชัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). การพิสูจน์ และยืนยันตัวตนด้วยระบบไบโอเมตริก. https://dmcrth.dmcr.go.th/attachment/dw/download.php?WP=nKq4MUN4oGu3ZHkCoMOahKGtnJg4WaN2oGu3BHj1oH9axUF5nrO4MNo7o3Qo7o3Q

MKT Admin. (2566). AI FACE RECOGNITION คืออะไร เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าในยุค 2023. https://www.success-network.co.th/what-is-ai-face-recognition-2/

ณัฐรีพรรณ นิทธยุสกุลโชติ. (2563). การเปรียบเทียบเทคนิคจดจำใบหน้าเพื่อใช้งานกับระบบบันทึกเวลาเข้างานด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

จรรยา สายนุ้ย, นันทิกา จันทร์แก้ว และ ฮุสนานี อุเซ่ง. (2564). ต้นแบบระบบลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานอบรม/สัมมนาโดยประยุกต์ใช้การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 40-50.

เกรียงศักดิ์ ตรีประพิณ ภัคภัทร นาอุดม และ ไพชยนต์ คงไชย. (2561). การพัฒนาระบบตรวจสอบนักศึกษาเข้าเรียนด้วยวิธีการรู้จำใบหน้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 92-105.

พิชญา จตุรวัฒน์ ภาสินี พงศ์มานะวุฒิ และ มานพ พันธ์โคกกรวด. (2560). การพัฒนาระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยการตรวจจับและรู้จำใบหน้า. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 5(1), 1-11.

saixiii. (2560). Flask คืออะไร. https://saixiii.com/python-flask-web-application/

Geitgey, A. (2017). Face Recognition. https://github.com/ageitgey/face_recognition

Dalal, N., & Triggs, B. (2005, June 20-25). Histograms of Oriented Gradients for Human Detection. In 2005 IEEE Computer Society Conference on Computer Vision and Pattern Recognition (CVPR'05). San Diego, CA, USA. doi: 10.1109/CVPR.2005.177

Hung, B.T. (2021). Face Recognition Using Hybrid HOG-CNN Approach. Research in Intelligent and Computing in Engineering. Advances in Intelligent Systems and Computing, vol 1254. 715-723.

doi: https://doi.org/10.1007/978-981-15-7527-3_67

เชี่ยวชาญ ยางศิลา. (2566). แอนดรอย์แอปพลิเคชันสำหรับจดจำและตรวจสอบใบหน้าโดยใช้โมบายเฟซเน็ต. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 13(1), 1-9.

Fei-Fei, Li., Fergus, R., & Perona, P. (2006). One-shot learning of object categories. IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, 28(4). 594-611. doi: 10.1109/TPAMI.2006.79

Labeled Faces in the Wild. (n.d.) https://vis-www.cs.umass.edu/lfw/