การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี The Development of Herbal Database System for Ban-Mai Dat, Sing Buri Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี 2) ประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี ในการพัฒนาระบบงานจะใช้หลักการวิเคราะห์ และออกแบบระบบตามแนวทางวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) โดยระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัดได้ผ่านการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบสารสนเทศจำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบจำนวน 20 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพระบบ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรบ้านไม้ดัด จังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วย 7 ระบบ โดยผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานในภาพรวมของระบบ จำนวน 3 ท่าน พบว่าระบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.55 2) การประเมินผลด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบฯ จากผู้ใช้ระบบจำนวน 20 ท่าน พบว่าผู้ใช้ระบบมี ความพึงพอใจต่อระบบฯ ที่พัฒนาขึ้นในเกณฑ์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.49
Article Details
References
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) (ม.ป.ป.). แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. https://www.hsri.or.th/printed-matter/446
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570. https://nph.dtam.moph.go.th/publications/2561/
ศักดา ปินตาวงค์. (2563). การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยผ่านเว็บแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(2), 55 – 70.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. (2562). การพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือน (Med Kit) ในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(6), 1092-1103.
สุชานันท์ แก้วกัลยา และธนากร อุยพานิชย์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมความงาม. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ทัศนันท์ จันทร และสุรีพร บุญอ้วน. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 12(23), 81-92.
ชญาดา กลิ่นจันทร์, ธาดา พรมทับ และชรินรัตน์ บุญมาก. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรในจังหวัดกำแพงเพชรที่สามารถใช้รักษาโรคได้. วารสาร สาร สื่อ ศิลป์, 2(3), 57-70.
นัฐพงศ์ ส่งเนียม, ธนันญดา บัวเผื่อน และกิตติพัฒน์ ศิริมงคล. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 17(1), 21-39.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2558). หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
หนึ่งฤทัย ไชยเดช. (2554). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชน ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาของกลุ่มสตรีผู้นำชุมชน กรณีศึกษา หมู่บ้านหัวทุ่ง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.