การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง The Development of a database system for lac cultivation in Lampang Province

Main Article Content

ชัยวุฒิ โกเมศ
พิกุล แสงงาม
วีรศักดิ์ ฟองเงิน
สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ
เยาวลักษณ์ งามแสนโรจน์
ธัญลักษณ์ งามขำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัด 2) ลำปาง เพื่อพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานและการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานต่อระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง โดยประชากรที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 98 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการสำรวจข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่งจังหวัดลำปาง พบว่าจังหวัดลำปางมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงครั่งจำนวน 2,033 คน บนพื้นที่ 4,949 ไร่ โดยอำเภอที่มีเกษตรกรเพาะเลี้ยงครั่งมากที่สุดคือ อำเภอวังเหนือ 939 คน (46.19%) เกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงครั่งบนต้นจามจุรี (54.48%) ผลผลิตครั่งดิบทั้งจังหวัดมีจำนวน 1,358,852.80 กิโลกรัม มีรายรับรวม 179,558,441 บาท โดยอำเภองาวมีผลผลิตสูงสุด 634,369 กิโลกรัม (46.68% ของผลผลิตรวม) รายรับ 70,838,940 บาท คิดเป็นรายรับเฉลี่ย 769,988.47 บาทต่อคน ซึ่งอำเภองาวมีเกษตรกรส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงครั่งบนต้นลิ้นจี่ 2) จากการออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สารสนเทศข้อมูลการเพาะเลี้ยงครั่ง จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลผู้ใช้ระบบ ข้อมูลต้นไม้ที่ใช้เพาะเลี้ยงครั่ง ข้อมูลพื้นที่เพาะเลี้ยงครั่ง  ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงครั่ง ข้อมูลสถานีตรวจวัดอากาศ ข้อมูลการตรวจวัดสภาพอากาศ 3) การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ โดยการวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลตามระดับคุณภาพมาตรการวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale) พบว่า การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ เท่ากับ 4.22 (S.D. = 0.90)  และเมื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานเพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี พบว่ามีระดับในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 (S.D. = 0.52)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิศากร คำปุก,ปัญญา หมั่นเก็บ และธำรงค์ เมฆโหรา. (2561). ห่วงโซ่อุปทานการเพาะเลี้ยงครั่งในจังหวัดลำปาง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36 (1), 1-11.

กลุ่มอารักขาพืช. (2564). ครั่ง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง จังหวัดลำปาง . สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง.

สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง พ.ศ. 2566 - 2570 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://www.lampang.go.th/strategy/2566/plan-r66-70-t67.pdf

กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้.(2557).การเพาะเลี้ยงครั่งและการใช้ประโยชน์ครั่ง.สำนักงานวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

Tegarden, D., Dennis, A., & Wixom, B. H. (2015). Systems analysis and design with UML (5th ed.). John Wiley & Sons Singapore Pte. Ltd.

สิทธิศักดิ์ อรรจนานนท์, เพ็ญศรี ปักกะสีนัง, และดาเรศ วีระพันธ์. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลควบคุมมาตรฐานเกษตรปลอดภัยผักเบอร์ 8 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 74 – 82.

ณวรา จันทร์ศิริ. (2563). การพัฒนาระบบคลังความรู้ด้านการเกษตร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 87 – 97

ภานุวัฒน์ ขันจา. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 13 – 25.

อนุชา เรืองศิริวัฒนกุล ภานุวัฒน์ ขันจา และ คณะ (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเกษตรมูลค่าสูงเพื่อสนับสนุนการทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่จังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2563). การพัฒนาระบบสนับสนุนและบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร. วารสารเกษตรพระวรุณ, 17(2),299-310.

มัลลิกา บุนนาค. (2555). สถิติเพื่อการวิจัยและตัดสินใจ(พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Roth, R. M., Dennis, A., & Wixom, B. H. (2013). Systems analysis and design (5th ed.). John Wiley & Sons Singapore Pte. Ltd.