อุโมงค์ฆ่าเชื้อไวรัสร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Anti-virus disinfectant tunnel with Internet of Things

Authors

  • Wacharawish Daosawang Electrical Engineering Department, faculty of Technology, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani, 42000
  • Panuwat Kanlayaput Student of Electrical Engineering Department, faculty of Technology, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani, 42000
  • Chatmongkol Charoentia Student of Electrical Engineering Department, faculty of Technology, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani, 42000

Keywords:

Anti-virus disinfectant, tunnel, internet of things, hypochlorous

Abstract

บทความนี้นำเสนออุโมงค์ฆ่าเชื้อไวรัสร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ที่มีระบบการทำงานที่สามารถแสดงผลและควบคุมการทำงานได้ โดยใช้บอร์ด ESP8266 และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบพีไออาร์สำหรับตรวจวัดหามนุษย์เพื่อการเริ่มทำงานของระบบ อุโมงค์ฆ่าเชื้อไวรัสนี้ใช้น้ำยาไฮโปคลอรัสสำหรับการทำสะอาดให้แก่ผู้ใช้งาน น้ำยามีการตรวจวัดระดับด้วยเซ็นเซอร์วัดระยะแบบอัลตราโซนิค โครงสร้างของอุโมงค์จัดทำด้วยท่อพลาสติก พีวีซี ระบบสามารถแสดงผลและควบคุมผ่านแอพปลิเคชัน Blynk บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ แหล่งจ่ายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220V จากการไฟฟ้าหรือไฟฟ้ากระแสตรง 12V จากเซลล์แสงอาทิตย์ และการใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบกรดไฮโปคลอรัสที่ผลิตด้วยขบวนการอิเล็กโตรไลต์ อุโมงค์ฆ่าเชื้อไวรัสนี้สามารถใช้งานได้กับน้ำยาทำความสะอาดกรดไฮโปคลอรัสที่จัดทำขึ้นด้วยวิธีการอิเล็กโตรไลต์ ที่แรงดันไฟฟ้า 12V เป็นเวลา 20 นาที ได้ค่าความเป็นกรดของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 6.14 pH

References

ระวิ แก้วสุกใส, พรทิวา คงคุณ, และ คณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนจังหวัดนราธิวาส, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, Vol.8(2), พฤษภาคม 2564, หน้า. 67-79.

นงศ์ณพัชร์ มณีอินทร์, และอิทธิพล ดวงจินดา. (2564). การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, วารสารการสาธารณสุขชุมชน, Vol.3(2), เมษายน 2562, หน้า. 1-18.

กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ. (2564). รายงานองค์ความรู้ที่มีการจัดการเพื่อให้เกิดวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ. ระบบพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-๑๙. กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ.

วิยดา กวานเหียน, ดลฤดี ตวงสิน, และ สุนิษา ฐานะภักดี. (2562). คุณสมบัติการฆ่าเชื้อก่อโรคของน้ำออกซิไดซ์, วารสารพิษวิทยาไทย, Vol.34(1), มิถุนายน 2562, หน้า. 53-69.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) (2563). “ตู้อุโมงค์พ่นหมอกฆ่าเชื้อขนาดเล็ก SP02”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thaismegp.com/product/61396ea01e4690727fd05eb8 สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

ร้าน Jiky House (2563). “ตู้อุโมงค์พ่นหมอก ประตูพ่นหมอกฆ่าเชื้อไวรัส SUPER CLEANING GATE”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://jikyhouse.com/easy-cleaning/ สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

นวลใย ญารักษา, ชัดชัย แก้วตา, ศุภาวีร์ มากดี, และ ธีระ สาธุพันธ์. (2564). ประสิทธิภาพของน้ำอิเล็กโทรไลต์ชนิดกรดในการฆ่าเชื้อโรค., วารสารเกษตรพระวรุณ, Vol.18(2), มิถุนายน 2564, หน้า. 41- 48.

วิยดา กวานเหียน, ดลฤดี ตวงสิน, และ สุนิษา ฐานะภักดี. (2562). คุณสมบัติการฆ่าเชื้อก่อโรคของน้ำออกซิไดซ์., วารสารพิษวิทยาไทย, Vol.34(1), มกราคม 2562, หน้า. 53 – 69.

ศิริอุมา เจาะจิตต์, วาริท เจาะจิตต์, ปนัดดา พิบูลย์, ภาณุพงศ์ เลี่ยมสว่าง, และอรุณลักษณ์ กาญจนพิทักษ์. (2562). การประยุกต์ใช้น้ำอิเล็กโทรไลต์แบบกรดเพื่อฆ่าเชื้อในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา., วารสารวิทยาศาสตร์ มข., Vol.47(3), มิถุนยน 2562, หน้า. 520 – 528.

สยามรัฐออนไลน์ (2564). “ตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสแบบไฮบริดบนระบบปฏิบัติการ IoT เพื่อบริการสาธารณะ”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://siamrath.co.th/n/219420 สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2565.

พนิตา พงษ์ไพบูลย์, เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์, และ กุลชาติ มีทรัพย์หลาก. (2563). แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ฐานรากสำคัญสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล, วารสารวิชาการ กสทช., Vol.4(4), ธันวาคม 2563, หน้า. 269 – 287.

ปรีชา กอเจริญ, เพชร นันทิวัฒนาเติมพงษ์, ศรีเทศ และ ณรงค์ อยู่ถนอม. (2560). เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายสำหรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง., วารสารวิชาการ กสทช., Vol.1(1), ธันวาคม 2560,

หน้า. 268 – 287.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2562). อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) กับการศึกษา., วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, Vol.2(2), มิถุนยน 2562, หน้า. 83 – 92.

สิริวิช ทัดสวน และ ประสิทธิ์ สุขเสริม. (2563). การวัดและควบคุมค่า pH ของน้ำด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง., วารสารวิชาการนปทุมวัน, Vol.10(28), กันยายน 2563, หน้า. 60 – 78.

Downloads

Published

2022-12-31

How to Cite

Daosawang, W., Kanlayaput, P., & Charoentia, C. (2022). อุโมงค์ฆ่าเชื้อไวรัสร่วมกับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง: Anti-virus disinfectant tunnel with Internet of Things. Journal of Industrial Technology and Innovation, 2(1), 247773. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/snru_jiti/article/view/247773