การศึกษาหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Ram Concept

Main Article Content

พัทธนันท์ มณีชนพันธ์
ฉัตร สุจินดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยอาศัยข้อมูลราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเสริมข้ออ้อย แบบหล่อรวมถึงค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่ความหนาต่างๆ กันเพื่อหาความหนาที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่อพื้นที่ต่ำสุด โดยใช้โปรแกรม RAM Concept ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาสำหรับการจัดเรียงตำแหน่งของเสาในพื้นทั้งหมด 3 กรณีคือ (1) สี่เหลี่ยมจัตุรัส (2) สี่เหลี่ยมผืนผ้า และ (3) แนวเสาเยื้องศูนย์ ซึ่งมีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 0.75 ระยะช่วงเสา 6 7.5 และ 9 เมตร น้ำหนักบรรทุกจร 200 300 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และกำลังอัดประลัย 320 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยมีข้อกำหนดให้เสริมเหล็กรับแรงเฉือน และแป้นหัวเสา ตรงบริเวณหัวเสาที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนทะลุได้ จากนั้นนำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบจากการศึกษาในครั้งนี้ได้ สมการทำนายความหนาของแผ่นพื้นซึ่งมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R2 อยู่ในช่วง 0.84 ถึง 0.99 และพบว่าอัตราส่วนช่วงเสาต่อความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นที่แนะนำโดย Post-Tensioning Institute มีค่าอยู่ระหว่าง 45 ถึง 50 แต่ในขณะที่ผลการศึกษานี้มีค่าอยู่ระหว่าง 49 ถึง 52 และจากผลการเปรียบเทียบกับการศึกษาที่คล้ายกันแต่ใช้โปรแกรม CSI SAFE V12.3.2 พบว่ามีค่าความหนาที่เหมาะสมแตกต่างกันประมาณ +3% กรณีสี่เหลี่ยมจัตุรัส +7% กรณีสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ +2% กรณีแนวเสาเยื้องศูนย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา ประจำปี 2537-2538. 2538. มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ว.ส.ท. 1008-38. กรุงเทพ ฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

ฉัตร สุจินดา. 2551. การเปรียบเทียบผล การออกแบบพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติ และวิธีไฟไนท์อิลิเมสต์แบบแผ่นสามมิติ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 13, โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช พัทยา.

ฉัตร สุจินดา. 2552. การเปรียบเทียบค่าโมเมนต์ทุติยภูมิในพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงด้วยวิธีโครงข้อแข็งเสมือนสองมิติ และวิธีไฟไนท์อิลิเมนต์แบบแผ่นสามมิติ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 14, สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.

สมชาย ตงอาภรณ์ และฉัตร สุจินดา. 2552. การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนต์อีลีเมนท์แบบสามมิติ. เอกสารการประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 5, โรงแรมเดอะกรีนเนอรี รีสอร์ท นครราชสีมา.

ธนัญกรณ์ ต่อศิริสกุลวงศ์ และฉัตร สุจินดา. 2554. การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนต์อีลีเมนท์แบบสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE. เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 16, โรงแรมเดอะซานย์ พัทยา จ.ชลบุรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงพานิชย์. 2555. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง. กรุงเทพ ฯ: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า.

The Post-Tensioning Institute. 1999. Design Fundamen-tals of Post-Tensioned Concrete Floors, Phoenix, AZ.

ACI Committee 318. 2008. Building Code Requirements for Structural Concrete (ACI318-08) and Commentary (ACI318R-08). Farmington Hill, MI.
Aalami, B.O. 1989. Design of Post-Tensioned Floor Slab, June: 59-61.