การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไฮเพอร์ไวเซอร์: สมรรถนะและการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพ

Main Article Content

โชคชัย เอกศรีวิชัย
สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์
เทพฤทธิ์ บัณฑิตวัฒนาวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์เปรียบเทียบไฮเพอร์ไวเซอร์วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชันและออราเคิล วีเอ็ม เวอร์ชวลบ๊อคซ์ ในแง่ของสมรรถนะและการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพ ในอดีตนั้นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะถูกใช้หนึ่งเครื่องต่อหนึ่งหน้าที่เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์การทำเสมือนแบบแม่ข่ายบนระบบปฏิบัติการเซนโอเอส เดสก์ท๊อป โดยใช้ ไฮเพอร์ไวเซอร์วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชัน รุ่น 12.5 ออราเคิล วีเอ็ม เวอร์ชวลบ๊อคซ์ รุ่น 5.1.12 เรดเฮท เวอร์ชวลไลเซชัน และโปรแกรมเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะวัดผลในด้านของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยเก็บข้อมูล และกราฟิก และการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูล จากผลการทดลองพบว่าไฮเพอร์ไวเซอร์วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชัน ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด โดยให้สมรรถนะด้านหน่วยประมวลผลกลาง 33.68% หน่วยความจำ 31.81% หน่วยเก็บข้อมูล 28.97% และกราฟิก 46.44% ส่วนการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพด้านหน่วยความจำ 26.42% และการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพด้านหน่วยเก็บข้อมูล 31.22%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Domingues P., Araujo F. and Silva L. 2009. “Evaluating the performance and intrusiveness of virtual machines for desktop grid computing”. 2009 IEEE International Symposium on Parallel & Distributed Processing. pp. 1-8.

Felter W., Ferraira A., and Rajamony R. and Rubio J. 2015. “An updated performance comparison of virtual machines and Linux containers”. 2015 IEEE International Symposium on Performance Analysis of Systems and Software (ISPASS). pp. 171-172.

Hassan H., Nasir M. H. M. and Khairudin N. 2017. “Cloud computing Adoption in Organisation : Review of Empirical Literature”. SHS Web of Conferences 34. EDP Scieces.

Hwang J., Zeng S., Wu y. F. and Wood T. 2013. “A Component-Based Performance Comparison of Four Hypervisors”. 2013 IFIP/IEEE International Symposium on Integrated Network Management (IM 2013). pp. 269-276.

Mell P. and Grance T. 2011. NIST Definition of Cloud Computing." Retrieved March 11,2013, from the National Institute of Standards and Technology.

Morabito R.,Kjallman J. and Komu M. 2015. “Hypervisors vs. Lightweight Virtualization: a Performance Comparison”. 2015 IEEE International Conference on Cloud Engineering. pp.386-393.

Soriga G. S. and Barbulescu M. 2013. “A comparison of the performance and scalability of Xen and KVM hypervisors”. 2013 RoEduNet International Conference 12th Edition: Networking in Education and Research. pp. 1-6.

Vmware. 2017. Virtualzation Overview. WHITE PAPER.

Walters P. J., Younge J. A., et al. 2014. “GPU Passthrough Performance : A Comparisonof KVM, Xen, VMWare ESXi and LXC for CUDA and OpenCL Applications”. 2014 IEEE 7th International Conference on Cloud Computing. pp. 636-643.

Xavier G. M.,Neves V. M. et al 2013. “PerformanceEvaluationofContainer-basedVirtualizationfor HighPerformanceComputingEnvironments”. 2013 21st Euromicro International Conference on Parallel, Distributed, and Network-Based Processing. pp. 233-240.

จักรชัย โสอินทร์ และคณะ 2559. คู่มือเรียนและใช้งาน Network Security Lab. นนทบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.

ธนชาติ นุ่มนนท์. 2557. สรุปผลสำรวจ ความพร้อมด้าน Cloud Computing ของหน่วยงานในประเทศไทย.

ศุภณัฏฐ์ เจริญเจริญชัย,เทพฤทธิ์ บัณฑิตย์วัฒนาวงศ์ 2559. “การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของซอฟต์แวร์เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน: กรณีศึกษาวีเอ็มแวร์เวิร์คสเตชั่นและเรดแฮทเวอร์ชวลไลเซชั่น”(สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ