การประยุกต์ใช้นิวโรฟัซซีแบบปรับตัวได้เพื่อประเมินเวลาสำรองในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ (Application of Adaptive Neuro-Fuzzy Inference Systems for Evaluating Time Contingency in Tunnel Construction Project )
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาสำรองของโครงการ ในรูปแบบของเวลารอคอยจากเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมในโครงการก่อสร้างอุโมงค์ ด้วยวิธีเจาะและระเบิด โดยประยุกต์ใช้นิวโรฟัซซีแบบปรับตัวได้ (ANFIS) ร่วมกับแผนกำหนดระยะเวลากิจกรรมแบบสายงานวิกฤต เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสี่ยง โดยอาศัยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า “น้ำเทิน 1” ทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยพิจารณาจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในกรณีต่าง ๆ การนำเข้าข้อมูลในระบบ ANFIS จะแบ่งข้อมูลเป็น 3 ชุด คือ ชุด A, B และ C โดยแต่ละชุดจะแบ่งข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ใช้เรียนรู้และทดสอบ จากนั้น เลือกชุดข้อมูลที่มีความแม่นยำมากที่สุด โดยพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนของรากที่สองเฉลี่ย (RMSE) พบว่า ข้อมูลชุด B มีค่า RMSE น้อยที่สุด จึงมีความเหมาะสมในการนำข้อมูลชุดนี้มาใช้ สำหรับการประยุกต์ใช้ในโครงการก่อสร้างจริงผลการศึกษา พบว่า ระยะเวลาการวางแผนด้วยวิธีสายงานวิกฤตแบบทั่วไป เท่ากับ 122 วัน ระยะเวลาการวางแผนแบบรวมความเสี่ยงด้วย ANFIS เท่ากับ 172 วัน และระยะเวลาการก่อสร้างจริง เท่ากับ 175 วันเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ระยะเวลาการวางแผนด้วย ANFIS มีความใกล้เคียงกับระยะเวลาในการก่อสร้างจริง จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนงานก่อสร้างอุโมงค์ด้วยวิธีเจาะและระเบิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
Ebrat, M. and Ghodsi, R. (2011). Risk Assessment of Construction Projects using Network based Adaptive Fuzzy System. International Journal of Academic Research, 3, 411-417.
Kaewprasit, R. and Mungsing, S. (2015). Semantic Decision Making based on Adaptive Neuro-Fuzzy Rules for Blood Diagnosis. Sripatum Review of Science and Technology, 7, 47-60. (in Thai)
Nontarungsee, S. and Pawan, P. (2016). Application of ANFIS for Evaluating the Strength of the Concrete Road During Construction. Sripatum Review of Science and Technology, 8, 79-87. (in Thai)
Pawan, P. and Rujirayanyong, T. (2019). Contingency Estimation based on Risk Events of Tunnel Construction: Case study Nam Theun 1 Hydropower Project. The Proceedings of the 4th RSU International Research Conference, 26 April 2019 at RSU, 364-374.
Pookyapon, S., Pawan, P. and Yomnak, T. (2015). Application of Expert Systems for Selecting Wall Systems. Sripatum Review of Science and Technology, 7, 61-69. (in Thai)
Promsiri, A. and Pawan, P. (2018). Lag Time in Project Scheduling Network with respect to Risk event of Weir Construction. Sripatum Review of Science and Technology, 10, 198-210. (in Thai)
Song Da 9 Join Stock Company. (2016). NAM THEUN 1 Hydropower Plant [Online]. Retrieved March 15, 2020, from: http://www.songda9.com/nam-theun-1-hydropower-plant-27834.
Tavakoli, R., Sharifara, A. and Najafi, M. (2020). Artificial Neural Networks and Adaptive Neuro-Fuzzy Models to Predict Remaining Useful Life of Water Pipelines. World Environmental and Water Resources Congress 2020, 17-21 May 2020 at Henderson, Nevada, 191-204.
Zhang, Z., Ding, D., Rao, L. and Bi, Z. (2006). An ANFIS Based Approach for Predicting the Ultimate Bearing Capacity of Single Piles. GeoShanghai International Conference 2006, 6-8 June 2006 at Shanghai, China, 159-166.