การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานน้ำเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืน

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์
Thanaphat Promwatthanaphakdi

บทคัดย่อ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run of River Hydropower Plant) มีค่าตัวชี้วัดประสิทธิภาพการใช้งาน (Plant Capacity Factor) ต่ำถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากอัตราการไหลของน้ำที่เกิดขึ้นจริง ในขณะที่แผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ การพัฒนาเทคนิคเพื่อประเมินศักยภาพพลังงานน้ำและกำหนดกำลังการผลิตติดตั้งที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การศึกษานี้นำเสนออัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลอัตราการไหลจริงร่วมกับฟังก์ชันการแจกแจงความน่าจะเป็นเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณ พร้อมทั้งแก้ปัญหาข้อมูลที่ขาดหาย เงื่อนไขการทำงานของเครื่องกังหันที่กำหนดอัตราการไหลต่ำสุดที่เครื่องสามารถทำงานได้ ถูกระบุในอัลกอริทึมเพื่อความสมจริง ผลลัพธ์จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้อัลกอริทึมดังกล่าวช่วยประเมินศักยภาพพลังงานน้ำได้อย่างแม่นยำ ทั้งในแง่ของกำลังการผลิตติดตั้งและการผลิตกระแสไฟฟ้ารายปี นอกจากนี้ยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลของน้ำกับความต่อเนื่องของการทำงานของเครื่องกังหัน ซึ่งสามารถรองรับการทำงานตลอดปีอย่างมีประสิทธิภาพ อัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปปรับใช้จริงก่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรน้ำและตอบสนองต่อเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anagnostopoulos, J. S., & Papantonis, D. E. (2007). Optimal sizing of run-of-river small hydropower plants. Energy Conversion and Management, 48(10), 2663–2670.

Cavalcanti, D.L.O., Reis, L.F.R., (2017) Maximum Design Flow Estimates for Large Basins Using the Local Frequency Analysis (LFA) and the Most Probable Maximum Hydrograph (MPMH) Methods – a Critical Analysis. Water Resource Manage, 31, 127–141

Gernaat, D.E.H.J., Bogaart, P.W., & Vuuren, D. P. V. (2017) High-resolution assessment of global technical and economic hydropower potential. Nature Energy, 2, 821–828.

Laodee, P., Ketjoy, N., Sukjai, S., Chamsa-ard, W., & Sonsaree, S. (2013), The Community development with Pico-hydro power plantsin Thailand. Journal of Community Development Research, 5(2), 15-30.

Liucci, L., Valigi, D. & Casadei, S., (2014) A New Application of Flow Duration Curve (FDC) in Designing Run-of-River Power Plants. Water Resource Manage, 28, 881–895.

Niadas, I.A., & Mentzelopoulos, P.G., (2008) Probabilistic Flow Duration Curves for Small Hydro Plant Design and Performance Evaluation. Water Resource Manage, 22, 509–523.

Norasretpanya, P., Jittasamroeng, K., & Sintunavarat, W. (2022), Efficiency Analysis of Hydroelectric Power Plant Establishment for Medium Reservoirs: A Case Study of Lampang Province. Thai Journal of Operations Research, 10(1), 128-139.

Paish, O. (2002) Small Hydropower: technology and current status. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 6(6), 537-556.

Phethuayluk, S. (2014), Potential of Hydroelectricity in Phatthalung Province. Burapha Science Journal, 19(2), 122-138.

Tang, S., Chen, J., Sun, P., Li, Y., Yu, P., & Chen, E. (2019) Current and future hydropower development in Southeast Asia countries (Malaysia, Indonesia, Thailand and Myanmar). Energy Policy, 129, 239-249.