การวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่มีผลต่อการนำระบบมาตรฐานการบริหารบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค

ผู้แต่ง

  • ศรันย์ นาคถนอม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

แบบจำลองสมการโครงสร้าง, การวิเคราะห์ปัจจัย, การบริหารบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่มีผลต่อการนำระบบมาตรฐานการบริหารบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค ระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย 6 เดือนในช่วงเดือน กรกฏาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2563 ขัอมูลจำนวนทั้งสิ้น  400 รายการ ตัวชี้วัด 19 ตัว จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ได้ทั้งหมด 6 ปัจจัย และได้ทำการหาโครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างจากแบบจำลองสมการ โดยพบว่าค่าที่ได้จากแบบจำลองสมการโครงสร้างที่ผ่านการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูล (Goodness of Fit) โดยมีค่า Chi_square (X2 )= 0.412, ค่า GFI (Goodness of Fit  Index) = 0.993, ค่า AGFI (Adjusted Goodness of Fit Index) = 0.980, ค่า RMSEA (Root Mean Square Error of Approximation) = 0.009 และค่า Hoelter’s N = 528

References

กระทรวงการคลัง. (2564). ยุทธศาสตร์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ 2564. เข้าถึงได้จาก http://strategy.mof.go.th/opsplan/A_YUT.php?ID=2

ชนนิกานต์ รอดมรณ์ และ นลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร. (2561). การบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพองค์กรของรัฐวิสาหกิจไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 20(3), 134-146.

นพมณี ภารุ่งโรจน์รัตน์, ศุภฤกษ์ สุขสมาน, บดินทร์ รัศมีเทศ และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2561). แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างสำหรับตัวชี้วัดคุณภาพการบริการ ตามทัศนะของนักท่องเที่ยวไทยในพื้นที่เมืองพัทยา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 15(2), 158-178.

พระจำรัส กุลพันธ์, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2563). รูปแบบสมการโครงสร้างเชิงเส้นประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7(1), 98-109.

ศรันย์ นาคถนอม และ ณมน จีรังสุวรรณ (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารบริการเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันอุดมศึกษา โดยวิธีการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 7(13), 19-25.

ศรันย์ นาคถนอม และ เทพพิทักษ์ อิ่มอาเทศ. (2560). การพัฒนาแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างเพื่อการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนคาทอลิกในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขต 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11(2), 269-281.

สมชาย ปราการเจริญ. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประมาณค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์เชิงโครงข่ายโดยใช้วิธีแบบจำลองสมการโครงสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. (2564). ประวัติ ขสมก. เข้าถึงได้จาก http://www.bmta.co.th/th/about-us

Garson David. (2007). Structural equation modeling. North-Carolina State University: USA.

R.J. Rummel. (2002). Factor analysis. Hawaii University: USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-14