การศึกษาสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากกาแฟและกากมะพร้าว

ผู้แต่ง

  • ลัดดา ทองชูช่วย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรรัตน์ ปัตรประกร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • แววบุญ แย้มแสงสังข์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

เชื้อเพลิงอัดแท่ง, กากมะพร้าว, กากกาแฟ, แป้งมันสำปะหลัง, แป้งข้าวเจ้า

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างกากกาแฟและกากมะพร้าวในการขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง (2) เพื่อศึกษาชนิดของแป้งที่เหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นตัวประสานในการขึ้นรูปเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกาแฟและกากมะพร้าวโดยเปรียบเทียบระหว่างแป้งมันสำปะหลังกับแป้งข้าวเจ้า (3) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพ เชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากกาแฟและกากมะพร้าว

            วิธีดำเนินการวิจัย (1) ทดสอบสมบัติของกากกาแฟ กากมะพร้าว แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวเจ้า (2) ขึ้นรูปเชื้อเพลิงอัดแท่งโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวประสาน (3) ทดสอบสมบัติทางด้านกายภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ใช้แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวประสาน

            ผลการวิจัยพบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผสมระหว่างกากกาแฟและกากมะพร้าวโดยใช้แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวประสานอัตราส่วน 2.5:7.5:2.6, 5:5:2.6, 7.5:2.5:2.6 และ 10:0:2.6 สามารถอัดเป็นแท่งได้ ยกเว้นอัตราส่วน 0:10:2.6 ไม่สามารถอัดเป็นแท่งได้ การทดสอบสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งให้ค่าความหนาแน่นสูงสุดที่ 0.815 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในอัตราส่วน 10:0:2.6 โดยมีแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน มีค่าดัชนีการแตกร่วนสูงสุดเท่ากับ 0.998 ในอัตราส่วน 10:0:2.6 โดยมีแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวประสาน และมีค่าความต้านทานแรงกดมากที่สุดเท่ากับ 265 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในอัตราส่วน 10:0:2.6 โดยมีแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน จากผลการวิจัยจะเห็นว่าการใช้แป้งมันและแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวประสานจะได้เชื้อเพลิงอัดแท่งที่มีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

References

จุฑาภรณ์ ชนะถาวรณ์ และ กนกวรรณ ภูมิวณิชกิจ. (2562). ผลของเปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟต่อสมบัติของเชื้อเพลิง ชีวมวลอัดแท่ง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ชมธิดา ชื่นนิยม. (2553). การศึกษาการเพิ่มมูลค่าของเศษซังข้าวโพดโดยการทำเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกุล และ พัชรี ปรีดาสุริยะชัย. (2558). การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ณัฐนิช บุญเฉลิมรัตน์. (2560). การประยุกต์ใช้กากกาแฟและเปลือกมะขามเพื่อเป็นแท่งเชื้อเพลิงชีวมวล (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

วิศรุต ยันตะดิลก. (2560). การศึกษาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากมะพร้าวร่วมกับผงถ่านโกงกาง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

สมศักดิ์ ภักดีวราภรณ์. (2544). การผลิตฟิล์มที่รับประทานได้จากแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลัง (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27