การศึกษาคุณสมบัติเชื้อเพลิงอัดแท่งจากฝุ่นฝ้ายและถ่านกะลามะพร้าว

ผู้แต่ง

  • วชิราภรณ์ คำออน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • แววบุญ แย้มแสงสังข์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุนีรัตน์ ฟูกุดะ ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

เชื้อเพลิงอัดแท่ง, กะลามะพร้าว, ฝุ่นฝ้าย

บทคัดย่อ

การทำการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างฝุ่นฝ้ายกับถ่านกะลามะพร้าวในการขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง (2) เพื่อศึกษาหาชนิดของแป้งที่เป็นตัวเชื่อมประสานที่เหมาะสมในการขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งระหว่าง แป้งมันสำปะหลัง กับ แป้งข้าวเจ้า (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ สมบัติทางกายภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากฝุ่นฝ้ายกับผงถ่านกะลามะพร้าว วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอนคือ (1) การตรวจสอบสมบัติของถ่านกะลามะพร้าวกับฝุ่นฝ้าย (2) การทดลองหาปริมาณที่เหมาะสมของตัวเชื่อมประสานที่ใช้ในการขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง (3) การศึกษาสมบัติทางกายภาพของเชื้อเพลิงอัดแท่ง

            ผลการวิจัยครังนี้พบว่า (1) ถ่านกะลามะพร้าว และฝุ่นฝ้ายเมื่อนำมาหา ค่าความชื้น ปริมาณกำมะถัน และ ค่าความร้อน พบว่าวัตถุดิบทั้ง 2 มีความเหมาะสมในการนำไปทำเชื้อเพลิงอัดแท่งได้ (2) พบว่าปริมาณตัวเชื่อมประสานที่เหมาะสมที่จะใช้ในการทำเชื้อเพลิงอัดแท่งของทั้งแป้งมันสำปะหลัง และแป้งข้าวเจ้า คือ  ร้อยละ 18 โดยทุกอัตราส่วนที่ทำการทดลองสามารถขึ้นรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งได้ แต่อัตราส่วนที่ขึ้นรูปได้ดีที่สุดคือที่อัตราส่วน 90:10:18 และ 70:30:18 ของทั้ง 2 ตัวเชื่อมประสาน (3) การใช้แป้งมันสำปะหลัง และแป้งข้าวเจ้า เป็นตัวเชื่อมประสาน จะได้เชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งที่มี สมบัติทางกายภาพ ที่แตกต่างกันเล็กน้อย

References

กระทรวงพลังงาน. (2559). โครงการศึกษาและจัดทำข้อมูลการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.

กัณมณี แสงสุข. (2559). การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษเยื่อไม้ขี้เลื่อยและด้าย. วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ พัฒนพานิช. (2559). การศึกษาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากถ่านไม้เงาะ โดยใช้กากน้ำตาลและแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นงนุช สิงหเดชะ. (2564). วิกฤตพลังงานโลกยังไม่เห็นทางออกอันใกล้. สืบค้นจาก http://today.line.me/th/v2/ article/LX1YXzj.

พัชรี อินธนู และ แพรขวัญ เกตุรมย์. (2561). การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษเปลือกถั่วลิสง. งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยิ้มแย้ม ลิวรัตน์. (2557). การนำฝุ่นจากเศษฝ้ายมาใช้เพื่อลดต้นทุนในการผลิตชีวมวลอัดแท่ง. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล. (2553). การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสำปะหลัง. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริกุล สุวรรณภพ และคณะ. (2558). การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากฝุ่นฝ้ายผสมกับขี้เลื่อย. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2563). โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ณ เดือนมกราคม-ธันวาคม 2563. สืบค้นจากhttps://www.thaitextile.org/th/ insign/detail.2393.14.0.html: กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

สวนิต อิชยาวณิชย์ และคณะ. (2547). คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และรีโอโลจีของแป้งข้าวเจ้าที่ผลิต โดยกระบวนการโม่เปียกและโม่แห้งในระดับ อุตสาหกรรม. งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สุกัญญา ทับทิม และ ศศิธร ปรือทอง. (2557). การเปรียบเทียบค่าความร้อนของถ่านอัดแท่งจากส่วนผสมของกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิต. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

Iloabachie, et al., (2018). The effect of carbonization temperatures on proximate analysis of coconut shell. International Journal of Advanced Engineering and Technology.

Kong, et al., (2013). Intertwining action of additional fiber in preparation of waste sawdust for biofuel pellets. Biomass and Bioenergy 59 : 151-157.

Pongsawatmanit, et al., (2002). Effect of sucrose on RVA viscosity parameters, water activity and freezable water fraction of cassava starch suspensions. Sci. Asia. 28: 129-134.doi.org/10. 2306/scienceasia1513-1874.2002.28.129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27