การวิเคราะห์กำลังแบกทานของเสาเข็มชนิดปลายฝังในหินด้วยวิธี FHWA (1999)

ผู้แต่ง

  • อติเทพ ศรีคงศรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ดำรง รังสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • โชติไกร ไชยวิจารณ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วิกรม พนิชการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นรินทร์ เอื้อศิริวรรณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

กำลังแบกทาน, เสาเข็มปลายฝังในหิน, ทดสอบเสาเข็ม

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์กำลังแบกทานของเสาเข็มชนิดปลายฝังในหินด้วยวิธี FHWA (1999) โดยใช้ข้อมูลจากการเจาะสำรวจทางปฐพีวิศวกรรม เสาเข็มชนิดนี้มีแรงต้านจากความเสียดทานจากชั้นดินรอบเสาเข็มส่วนบนซึ่งคำนวณแรงเสียดทานด้วยวิธีและพารามิเตอร์แบบเดียวกันกับการคำนวณเสาเข็มทั่วไป และแรงต้านจากส่วนล่างที่ฝังในหินพิจารณาจากชนิดของหิน ความเป็นมวลเนื้อเดียวกัน (ค่า RQD) ระดับความผุพัง คุณสมบัติกำลังรับแรงอัด และกำลังอัดประลัยของคอนกรีตเสาเข็ม ในการวิเคราะห์ได้เลือกเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.80 เมตร จากโครงการหนึ่งในจังหวัดชลบุรีที่มีการทดสอบกำลังแบกทานของเสาเข็มในสนามเป็นกรณีศึกษา เมื่อนำผลการคำนวณกำลังแบกทานของเสาเข็มมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการทดสอบเสาเข็มโดยใช้สัดส่วนความปลอดภัยอ้างอิงกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พศ. 2527 พบว่ามีความสอดคล้องกันเป็นอย่างดี

References

กฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (ฉบับพิเศษ) พ.ศ. 2527. (2527, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 101 ตอนที่ 143, หน้า 10-29.

บริษัทแคสแลบ(ประเทศไทย) จำกัด (2563). รายงานเจาะสำรวจสภาพชั้นดินโครงการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกต่างระดับเขาไม้แก้วจุดตัดทางหลวงหมายเลข 36 จังหวัดชลบุรี-จังหวัดระยอง.

บริษัทแคสแลบ(ประเทศไทย) จำกัด (2564). รายงานการทดสอบการรับแรงอัดของเสาเข็มเจาะโดยวิธีทางสถิตศาสตร์ (Static Pile Load Test) โครงการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกต่างระดับเขาไม้แก้ว จ.ชลบุรี จ.ระยอง 1 แห่ง

สยาม ยิ้มศิริ (2559). กําลังรับน้ำหนักของเสาเข็มชนิดปลายฝังในหินในเขตเมืองพัทยา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559, มหาวิทยาลัยบูรพา.

American Society of Civil Engineers (1997). Standard Guidelines for the Design and Installation of Pile Foundations; ASCE 20-9; ASCE: Reston, VA, USA.

Kim, S.J., Sun Yong Kwon, S.Y., Han, J.T. and Yoo, M. (2019). Development of Rock Embedded Drilled Shaft Resistance Factors in Korea based on Field Tests. Applied Science, 9, p.1-17. doi.org/10.3390/app9112201

O’Niel, M.W. and Reese, L.C. (1999). Drill Shafts: Construction Procedure and Design Method. Publication No. FHWA-IF-99-025, Federal Highway Administration, USA.

Peck, R.B., Hanson, W.E., and Thornburn, T.H., (1974). Foundation Engineering, John Wiley and Sons Inc., New York.

Rowe, R.K. & Armitage, H.H. (1987). A Design Method for Drilled Pile in Soft Rock. Canadian Geotechnical Journal, 24, 126-142.

Zhang, L. (1997). Analysis and Design of Axially Loaded Drilled Shafts Socketed into Rock. M.Sc. Thesis, Massachusetts Institute of Technology, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27