การลดของเสียในกระบวนการผลิตกรอบกระจกอลูมิเนียม

ผู้แต่ง

  • สมรรถรณ เหรียญนามวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การลดของเสีย, เครื่องจักรอัตโนมัติ, กระบวนการผลิตอลูมิเนียม, การซ่อมบำรุงเชิงพยากรณ์, การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตกรอบกระจกอลูมิเนียม ประเภทเสาอลูมิเนียมที่เกิดขึ้นในกระบวนการตัดชิ้นงานอลูมิเนียม เจาะชิ้นงานอลูมิเนียม และบากชิ้นงานอลูมิเนียมจากเครื่อง CNC โดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (QC Tool) ในการค้นหาสาเหตุและเพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตทั้ง 3 กระบวนการเป็นระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 พบว่า มีของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตกรอบกระจกอลูมิเนียมทั้งหมด 5,061 ชิ้น หรือเฉลี่ยที่ 4.4% ต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 3,036,600 บาทต่อเดือน โดยสาเหตุหลักพบว่า เครื่อง CNC ตัดชิ้นงาน เครื่อง CNC เจาะชิ้นงาน มีปัญหาตัดชิ้นงานไม่ได้ระยะและองศา ระยะรูเจาะไม่ตรงตาม Center ตามที่แบบกำหนด และบากชิ้นงานที่ลึกเกินกว่าแบบ การศึกษาครั้งนี้จึงได้เสนอระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และการออกแบบวัสดุควบคุมชิ้นงาน (jig fixture) เพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ผลการดำเนินการปรับปรุงสามารถลดการเกิดของเสียประเภทเสาอลูมิเนียมที่เกิดจากการตัดชิ้นงานที่ไม่ได้องศา เจาะชิ้นงานไม่ตรง Center และบากชิ้นงานที่ลึกเกินกว่าที่แบบกำหนด จากเดิมเฉลี่ย 4.4%ต่อเดือนลดลงเหลือ 1.7% ลดลงได้ถึง 61.36% และคิดจากจำนวนของเสียที่ลดลงจากเดิม 5,061 ชิ้น ลดลงเหลือ 1,111 ชิ้นสามารถลดได้ 3,950 ชิ้น มีมูลค่าที่ประหยัดต้นทุนบริษัทคิดเป็นจำนวนเงินโดยเฉลี่ย 2,370,000 บาท (1 ชิ้น เฉลี่ยเท่ากับ 5 Kg) ในรอบ 2 เดือน ถ้าคิดเป็นปริมาณการสูญเสียรายปี จะเท่ากับ 14,220,000 บาทต่อปี

References

จุไรรัตน์ ลาธุลี. (2559). การลดของเสียในกระบวนการผลิตสวิตซ์ควบคุมกระจกมองข้างไฟฟ้า ด้วยกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวี บุญกำเนิด. (2553). การลดของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาโรงงานผลิตถุงมือแพทย์. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.

ธนกฤษ ซุ่นเซ่ง. (2556). การลดของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาของเสียประเภทจุดดำ. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธวัชชัย บัวระภา. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตเครื่องดื่ม. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ธีรนันท์ สุธาธรรมรัตน์. (2562). การลดของเสียในกระบวนการผลิตแผงหน้าต่างอลูมิเนียม ระบบผนังกระจกสำเร็จรูป. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27