การจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาติดตั้งระบบดับเพลิงภายในอาคาร

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ แก้วนวล
  • ศักดิ์ชาย รักการ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สำเริง เนตรภู่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การจัดการสินค้าคงคลัง, ระบบดับเพลิง, ABC Analysis, ลดต้นทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาติดตั้งระบบดับเพลิงภายในอาคาร จากการตรวจนับสต็อกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทฯ มีสินค้าคงคลัง จำนวน 240 รายการ ซึ่งมีมูลค่าทั้งสิ้น 680,626 บาท ซึ่งจากการวิเคราะห์เบื้องต้นพบปัญหามูลค่าสินค้าคงคลังสูงเกินความต้องการประมาณ 71% และจากปัญหาทางกายภาพ พบว่า สภาพสินค้าในคลังไม่ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ ทำให้การวางสินค้าไม่เป็นตำแหน่งการวางที่แน่นอน ไม่เอื้ออำนวยต่อการมองเห็น ทำให้หาสินค้ายาก และเกิดการซื้อซ้ำอยู่บ่อยครั้ง จึงได้นำทฤษฎี ABC Analysis มาใช้ในการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าคงคลังด้วยเงื่อนไขมูลค่าสินค้า สามารถกำหนดสินค้าประเภท A มีจำนวนสินค้าทั้งหมด 24 รายการ สินค้าประเภท B มีจำนวนสินค้า 79 รายการ และสินค้าประเภท C มีจำนวนสินค้า 137 รายการ และนำสินค้าประเภท A ที่มีมูลค่าสินค้าสูงที่สุด มาวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยการพยากรณ์ความต้องการของสินค้าต่อเดือน การกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังต่ำสุด สูงสุด ระยะรอบเวลาในการจัดซื้อ และปริมาณการจัดซื้อที่เหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์รายการสินค้าที่ไม่หมุนเวียน โดยการสร้างเป็นสูตรการคำนวณด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ผลการศึกษา ในสินค้ากลุ่ม A พบสินค้าที่ไม่หมุนเวียนจำนวน 8 รายการ ซึ่งดำเนินการให้ฝ่ายขายเสนอรายการสินค้าเหล่านี้กับลูกค้าเพื่อระบายสินค้าออก และสินค้าที่ต้องจัดซื้อให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการ 22 รายการ นอกจากนั้นได้ใช้หลักการการออกแบบการจัดคลังสินค้าใหม่ ทำให้สินค้ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดการจัดเก็บสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ มีการแบ่งพื้นที่ของการจัดเก็บอย่างชัดเจน และกำหนดช่องทางการเดินของพนักงานเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วในการตรวจสอบสต็อคที่มีอยู่ในคลังสินค้า รวมทั้งสะดวกต่อการหยิบสินค้า (Picking) หลังจากดำเนินการสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ 184,227 บาท เฉลี่ยลดลง 27%

References

โชติกา ทองสุโชติ. (2552). การจัดการควบคุมสินค้าคงคลังโดยวิธี ABC Analysis ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง กรณีศึกษาบริษัท เอ.ซี. เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นภัสสร สกุลประดิษฐ์. (2560). การจัดการสินค้าคงคลังในโรงงานผลิต และกระจายสินค้าแช่แข็ง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทวรรณ สมศรี และ ศุภฤกษ์ เหล็กดี. (2563). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยวิธี ABC – FSN Analysis. โครงงานวิศวกรรม, วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยะนันท์ คำภิโร. (2555). กระบวนลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับการแยกประเภทวัสดุคงคลังและการกำหนดนโยบายสั่งซื้อสำหรับวัสดุกลุ่ม A. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง, สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมสิริ เซ่งจัน. (2557). ระบบสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา ร้านค้าสหกรณ์ชุมชนบ้านหนองค้า ตำบลโนนท่อน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง, สาขาวิชาสถิติ ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(1), 2148-2151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27