การพัฒนาโมเดลพยากรณ์สำหรับปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต

ผู้แต่ง

  • นัทวุฒิ ขันธกสิกรรม
  • ศรันย์ นาคถนอม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เตชค์ฐสิณป์ เพียซ้าย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

โมเดลพยากรณ์, โครงข่ายประสาทเทียม, การวัดประสิทธิภาพ, ค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการพยากรณ์ปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม (2) พัฒนาโมเดลพยากรณ์ปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตโดยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และ (3) ประเมินประสิทธิภาพของโมเดลที่ใช้ในการพยากรณ์โดยเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อหารูปแบบในการพยากรณ์ปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม

ผู้วิจัยใช้ข้อมูลปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด (มหาชน) เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 12 ชุดข้อมูลและทำการแบ่งข้อมูลแต่ละชุดออกเป็น 2 ชุดประกอบด้วย ชุดที่ 1 สำหรับการเรียนรู้โมเดลพยากรณ์ ชุดที่ 2 สำหรับการทดสอบโมเดลพยากรณ์ด้วยอัตราส่วน 70 ต่อ 30 ข้อมูลนำเข้า (n) สำหรับโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่ย้อนกลับมี 5 โหนดและมีผลลัพธ์ 1 โหนดและใช้อัลกอริธึมเลเวนเบอร์ก-มารค์วอร์ทในการฝึกสอนโครงข่ายสำหรับการปรับค่าน้ำหนัก ค่าไบแอส และค่าจำนวนโหนดในชั้นซ่อนที่แตกต่างกันเพื่อออกแบบโครงข่ายประสาทเทียมที่ทำให้มีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAPE) ต่ำที่สุด

ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการพยากรณ์โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมเพอร์เซ็ปตรอนหลายชั้นแบบแพร่ย้อนกลับเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต (2) โมเดลดังกล่าวได้ใช้เทคนิคของอัลกอริธึมเลเวนเบอร์ก-มารค์วอร์ทสำหรับการพัฒนาโมเดลเพื่อหาจำนวนโหนดในชั้นซ่อนที่เหมาะสมได้เท่ากับ 2 เท่าของ n และผลจากการประเมินประสิทธิภาพพบว่า (3) โมเดลการพยากรณ์ที่ได้ทำการพัฒนาเพื่อพยากรณ์ปริมาณการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตสำหรับโมเดลแบบ 1n, 2n, 3n, 4n, และ 5n มีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ของการพยากรณ์เป็น 3.59, 3.01, 4.02, 4.08 และ 5.95 ตามลำดับ โดยการพยากรณ์ของโมเดลแบบ 2n เป็นโมเดลที่ให้ค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ต่ำที่สุด

References

กรินทร์ กาญทนานนท์. (2561). การพยากรณ์ทางสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ไกรศักดิ์ เกษร. (2564). วิทยาศาสตร์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จามรี ชูบัวทอง และสมศรี บัณฑิตวิไล. (2560). การพัฒนาตัวแบบเพื่อพยากรณ์คุณภาพผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ด้วยการถดถอยโลจิสติกส์และโครงข่ายประสาทเทียมโดยใช้การวิเคราะห์เหมืองข้อมูล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(1), 1-13.

ธิษณ์ปัณฑา คนโทฉิมพลี และคณะ. (2561). การพยากรณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม. วารสาร 11th Thaicid Nationnal Symposium, 11(1), 68-91.

นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย Sale Forcasting. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ม, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 7

ผุสดี บุญรอด และกรวัฒน์ พลเยี่ยม. (2560). แบบจำลองการพยากรณ์ราคามันสำปะหลังโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น. บทความวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(3), 534-543.

พรรณิภา คุมสิน และสมศรี บัณฑิตวิไล. (2561). การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ยอดขายเครื่องปรับอากาศโดยวิธีปรับให้เรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์-วินเทอร์,วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ และวิธีโครงข่ายประสาทเทียม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(3), 364-376.

ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์ อภินันท์ จุ่นกรณ์ และ มงคล รอดจันทร์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). ระบบพยากรณ์การรุกล้ำของน้ำเค็มบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนด้วยโครงข่ายประสาทเทียมหลายชั้น. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 16(1), 60-68.

ราตรี คำโมง และ สุพจน์ หอมดอก. (2562). การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวภาคเหนือของประเทศไทยด้วยโครงข่ายประสาทเทียม. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 2562(2), 15-31.

ยุพิน ไชยสมภาร และทวี ชัยพิมลผลิน. (2560). การพยากรณ์ระดับนํ้าโดยแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมด้วยข้อมูลปริมาณนํ้า ฝนจากแบบจำลอง WRF-ECHAM5. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(17), 83-90.

รณชัย ชื่นธวัช กิตติศักดิ์ เกิดประสพ และนิตยา เกิดประสพ. (2560). การพยากรณ์ความต้องการใช้งานหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าด้วยซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชันแบบตรวจสอบสลับ 3 ส่วน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 215-232.

รสริน โคตรเสนา และอัจฉราพรรณ ประทุมมณี. (2563). การพยากรณ์ความต้องการสินค้าโดยวิธีโครงข่ายประสาทเทียมของโรงงานผลิตขนมแห่งหนึ่ง (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ

ไววิทย์ พานิชอัศดร และ มหศักดิ์ เกตุฉ่า. (2560). การพยากรณ์ยอดขายปลีกแก๊สรถยนต์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาและโครงข่ายประสาทเทียม. วารสาร JOURNAL OF INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY, 7(1), 42-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27