กระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์สำหรับงานหัตถกรรม
คำสำคัญ:
การทำกระดาษ, กระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์, กระดาษสำหรับงานหัตถกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวะในการทำกระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์ชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของกระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์ การทำกระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การเตรียมเยื่อกระดาษ การต้มเยื่อกระดาษ การฟอกเยื่อกระดาษ การทำแผ่นกระดาษ การทดสอบคุณสมบัติกระดาษ และแนวทาง การทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาวะที่ใช้ในการทำกระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์ ประกอบด้วยน้ำยาต้มเยื่อ อุณหภูมิ และระยะเวลาในการต้มเยื่อดังนี้ น้ำยาต้มเยื่อใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้น 2 ระดับคือ ความเข้มข้น 2% และ 4% โดยปริมาตร การต้มเยื่อใช้ระยะเวลาในการต้มเยื่อมี 3 ช่วงคือ ระยะเวลา 2, 4 และ 6 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิระดับเดียวคือ 200 องศาเซลเซียส จากสภาวะดังกล่าวจะได้กระดาษทั้งหมด 6 แบบ 2) กระดาษจากเศษเหลือทิ้งของป่านศรนารายณ์มีคุณสมบัติดังนี้ น้ำหนักมาตรฐานมีค่าอยู่ระหว่าง 42.15-65.89 g/m2 ความหนามีค่าอยู่ระหว่าง 159.21- 189.74 ไมครอน ความชื้นมีค่าอยู่ระหว่าง 9.48 -11.81 % ความขาวสว่างมีค่าอยู่ระหว่าง 75.41 - 90.48 % ความทึบแสงมีค่าอยู่ระหว่าง 75.15 - 92.71% ความต้านแรงดันทะลุ มีค่าอยู่ระหว่าง 34.22 - 49.56 KPa ความต้านแรงดึง มีค่าอยู่ระหว่าง 75.32 - 102.25 KN/m2 และความต้านแรงฉีกขาด มีค่าอยู่ระหว่าง 348.91 - 398.77 mN
References
จิตรลดา ชูมีและคณะ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาการผลิตกระดาษจากเปลือกมะพร้าวสู่ระบบธุรกิจชุมชน.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จุฑามาส เรืองยศจันทนา และรัชฎา บุญเต็ม. (2560). การสกัดเซลลูโลสและการทำกระดาษจากเปลือกข่อย. Veridian E-
Journal, Science and Technology Silpakorn University, 4(3), 50-59.
ชญานิน วังตาล และรักชนก อินจันทร์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษจากชานอ้อยของชุมชนบ้านป่าก่อพัฒนา
ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.นเรศวรวิจัยครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม,
916-925.
ฐิตารินีย์ สุโรพันธ์. (2562). การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ,
, 25-33.
นพดล โพชกําเหนิด สุปราณี วุ่นศรี และ ธัญวลัย รัศธนันกิจจ์. (2019). การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษจากโดยใช้วัสดุ
เหลือใช้จากการผลิตใบจากสูบเพื่อความยั่งยืนของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต,
(3) 271–282.
นุชศรา นงนุช. (2553). ความเป็นไปได้ในการใช้เยื่อจากกระดาษคราฟท์และกระดาษกล่องมาผลิตกระดาษเช็ดมือ.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รุงอรุณ วัฒนวงศ ธีระชัย รัตนโรจนมงคล และจิระศักดิ์ ชัยสนิท. (2542). การผลิตเยื่อปอสาคุณภาพสูง.กองการวิจัย.
กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 1-46.
รุ่งอรุณ วัฒนวงศ์. 2539. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ. กรุงเทพมหานคร: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
วัชระ ยี่สุ่นเทศ และ อิงอร ตั้นพันธ์. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปป่านศรนารายณ์ของชุมชนหุบกะพง อำเภอ
ชะอำจังหวัดเพชรบุรี. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(2),50-65
วรวรรณ สังแก้ว วศิน ยุวนะเตมีย์ คณิสร ล้อมเมตตา. (2559). การพัฒนาการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากไส้กก
ร่วมกับการใช้สีย้อมธรรมชาติ. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, 10 (4), 5-13.
สิทธิศานติ์ วชิรานุภาพ. (2542) การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเยื่อกระดาษจากต้นธูปฤาษี . มหาวิทยาลัยมหิดล/
กรุงเทพฯ.
สุจยา ฤทธิศร รัมภา จุฑะกนก และ จันทิมา ฑีฆะ. (2559). การผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมด้วยเปลือกสับปะรดจากโรงงาน
อุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง. Science and Technology RMUTT Journal, 6(1), 39-47.
Leulee Nortoualee. (2564). การเพิ่มมูลค่าฟางข้าวโดยการผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Bali, G., Meng, X., Deneff, J. I., Sun, Q., & Ragauskas, A. J. (2015). The effect of alkaline pretreatment
methods on cellulose structure and accessibility. ChemSusChem, 8(2), 275–279.
Li, J. B., Henriksson, G. and Gellerstedt, G. (2007). Lignin depolymerization/repoly- merization and its critical
role for delignification of aspen wood by steam explosion. Bioresource Technology, 98: 3061–3068.
Mtweve Bosco, Ekael Mbise, Rwaichi J. A. Minja. (2022). Production of Paper Pulp Using Sisal Fiber Waste
from Sisal Spinning Processes. Tanzania Journal of Engineering and Technology, 41(2), 151-157