การลดของเสียในกระบวนการผลิต กรณีศึกษา สายการผลิตโครงสร้างของรถแทรคเตอร์บริษัท CCC จำกัด

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
  • ไตรทิพย์ สีจัน ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก

คำสำคัญ:

ของเสียในโรงงานอุตสาหกรรม, การลดของเสีย, การลดต้นทุนการผลิต, การนำกลับมาใช้ใหม่

บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาการลดของเสียในกระบวนการผลิต สายการผลิตโครงสร้างของรถแทรคเตอร์ บริษัท CCC จำกัด 2.เพื่อศึกษาแนวทางการลดต้นทุนในการผลิตรถแทรคเตอร์ สายการผลิตโครงสร้างของรถแทรคเตอร์  บริษัท CCC จำกัด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  มีเครื่องมือในการวิจัยคือ การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลพร้อมกับการสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน (Unstructured Interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิต จำนวน 5 คน เลือกจากผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย หัวหน้าสายการผลิตโครงสร้างตัวรถ 1 คน, วิศวกรด้านงานเชื่อม 1 คน, ตัวแทนแผนกควบคุมคุณภาพ 1 คน, ตัวแทนพนักงานเชื่อม 2 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้  สถิติเชิงพรรณนา เพื่อให้ได้ค่าสถิติประเภทร้อยละ

            ผลการวิจัยพบว่า

            1)  ปัญหาของเสียเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุหลักๆ คือ แผ่นรองใบหินเจียรไม่เหมาะสม ไม่มีการระบุวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจน พนักงานขาดความเข้าใจการใช้งาน และที่สำคัญสุดคือการใช้งานยังไม่เต็มประสิทธิภาพ      

            2)  พบว่าใบหินเจียรที่ใช้งานแล้วสามารถนำมาทำการ Recycle ได้ 70% ของใบหินเจียรที่ใช้งานไปแล้วทั้งหมด หลังจากนำมาปั๊มที่เครื่องตัดขอบแล้ว มีใบหินเจียรที่สามารถนำมากลับมาใช้งานเจียรได้อีกประมาณ 60% เมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่นำเสนอแล้วบริษัทสามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อ ใบหินเจียรถึง 29.57% แสดงให้เห็นว่าแนวทางที่นำเสนอสามารถลดของเสียและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต

References

สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม. 2555. คู่มือ3Rs กับการจัดการของเสียภายในโรงงาน. สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม. 9EXPERT. 2564. การเลือกรูปแบบ Visualization ให้เหมาะสมกับข้อมูล. ค้นวันที่ 15 เมษายน 2566 จากhttps://www.9experttraining.com/articles/

สมชาย เปรียงพรม, ศุภกร เจริญประสิทธิ์, & ธนกฤต บูชาพันธ์. (2565). การลดของเสียในกระบวนการผลิต มอเตอร์ด้วยการออกแบบอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานกรณีศึกษาสายการประกอบมอเตอร์. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 15-28.

ณัฐวดี มหานิล, & ศรัณย์นภัทร สมเทศ. (2565). การลดของเสียการลดของเสียในกระบวนการผลิตแผ่นวงจร พิมพ์กรณีศึกษาผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในประเทศไทย: บทความวิจัย. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 2(2), 1-11.

ธีรวัฒน์ เทพชู, ศักดิ์ชาย รักการ, พจนีย์ ศรีวิเชียร, จีรวัฒน์ ปล้องใหม่. (2565). การลดของเสียใน กระบวนการผลิตแชมพูสูตรA ด้วยการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1), 47-55.

เฉลิมศักดิ์ ถาวรวัตร์, ก้าวหน้า จงวัฒนารักษ์, ระพี กาญจนะ, & ฤทธิชัย สังฆทิพย์. (2565). การลดของเสียใน กระบวนการผลิตกล่องกระดาษด้วยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง. วารสารวิชาการปทุมวัน Pathumwan Academic Journal, 12(33), 41-55.

วรพจน์ ศิริรักษ์, ทัศพงศ์ นันทมัจฉา, วรพจน์ แซงบุญเรือง, อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล, ชัชชัย สีตา. (2566). การปรับปรุงกระบวนการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคนิค ECRS . วารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ, 1(1), 246564- 246564

วินัย หล้าวงษ์, โยธิน นามโสรส, อภิวัฒน์ ด่านแก้ว, วีรพงค์ จุลศรี. (2565). การปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดความสูญเปล่าในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิจัยมทร. กรุงเทพ, 16(1), 132-149.

William J. Stevenson. (2012). Operations Management. New York: McGraw-Hill/Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28