เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเพื่อการสอนปฏิบัติการด้านการพิมพ์สามมิติ
คำสำคัญ:
ความเป็นจริงเสมือน, เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ, ห้องปฏิบัติการเสมือนจริง, การสอนปฏิบัติการบทคัดย่อ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ถูกนำมาสนับสนุนการเรียน และเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการศึกษาในอนาคต การเรียนรู้ในโลกความเป็นจริงเสมือนจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงระบบการเรียนทางไกลในสภาพแวดล้อมที่เสมือนว่าผู้เรียนอยู่ในการเรียนลักษณะเผชิญหน้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบสื่อความเป็นจริงเสมือนเพื่อการสอนปฏิบัติวิธีการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติ การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษากระบวนการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติและเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน จากนั้นจึงทำการพัฒนาโปรแกรมความเป็นจริงเสมือนในการเรียนรู้การใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติ แล้วทำการประเมินคุณภาพโปรแกรมความเป็นจริงเสมือน พร้อมทั้งทำการทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียน สุดท้ายทำการปรับปรุงสื่อการเรียนและนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 30 คน และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มประชากรที่ข้อมูล 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน พบว่าผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่ 5.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.83 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนที่ 8.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1.14 โดยผู้เรียนที่เข้าเรียนสื่อห้องปฏิบัติการความเป็นจริงเสมือนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2565), เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. ซีเอ็ดยูเคชั่น
ศยามน อินสะอาด (2561), การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. ซีเอ็ดยูเคชั่น
ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร (2560), เอกสารการสอนชุดวิชา 97316 เทคโนโลยีในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต (ปรับปรุงครั้งที่ 1), หน่วยที่ 14 เทคโนโลยีการผลิตด้วยวิธีเพิ่มเนื้อวัสดุ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สมนึก ภัททิยธนี (2565), การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abulrub, A. H. G., Attridge, A. N., & Williams, M. A. (2011, April). Virtual reality in engineering education: The future of creative learning. In 2011 IEEE global engineering education conference (EDUCON) (pp. 751-757). IEEE.
Andone, D., & Frydenberg, M. (2019). Creating virtual reality in a business and technology educational context. In Augmented Reality and Virtual Reality (pp. 147-159). Springer, Cham.
Anjarichert, L. P., Gross, KERSTI.N., Schuster, KATHARINA., & Jeschke, SABINA. (2016). Learning 4.0: Virtual immersive engineering education. Digit. Univ, 2, 51
Carruth, D. W. (2017, October). Virtual reality for education and workforce training. In 2017 15th International Conference on Emerging eLearning Technologies and Applications (ICETA) (pp. 1-6). IEEE.
Dede, C. J., Jacobson, J., & Richards, J. (2017). Introduction: Virtual, augmented, and mixed realities in education. In Virtual, augmented, and mixed realities in education (pp. 1-16). Springer, Singapore.
Hodgson, P., Lee, V. W., Chan, J. C., Fong, A., Tang, C. S., Chan, L., & Wong, C. (2019). Immersive virtual reality (IVR) in higher education: Development and implementation. In Augmented Reality and Virtual Reality (pp. 161-173). Springer, Cham.
Im, T., An, D., Kwon, O. Y., & Kim, S. Y. (2017). A Virtual Reality based Engine Training System-A Prototype Development & Evaluation. In CSEDU (1) (pp. 262-267).
Kidbanjong, L., Kotchasarn, S., & Srikulwong, M (2021). Development and application of virtual reality in e-learning: a case study internet of things course. RMUTT Global Business Accounting & Finance Review.
Mellet-d'Huart, D. (2009). Virtual reality for training and lifelong learning. Themes in science and technology education, 2(1-2), 185-224.
Pan, Z., Cheok, A. D., Yang, H., Zhu, J., & Shi, J. (2006). Virtual reality and mixed reality for virtual learning environments. Computers & graphics, 30(1), 20-28.
Pantelidis, V. S. (2010). Reasons to use virtual reality in education and training courses and a model to determine when to use virtual reality. Themes in Science and Technology Education, 2(1-2), 59-70.
McGriff, S. J. (2000). Instructional system design (ISD): Using the ADDIE model. Retrieved June, 10 (2003), 513-553.
Valdez, M. T., Ferreira, C. M., Martins, M. J. M., & Barbosa, F. M. (2015). 3D virtual reality experiments to promote electrical engineering education. In 2015 International Conference on Information Technology Based Higher Education and Training (ITHET) (pp. 1-4). IEEE.
Vaughan, N., Dubey, V. N., Wainwright, T. W., & Middleton, R. G. (2016). A review of virtual reality-based training simulators for orthopaedic surgery. Medical engineering & physics, 38(2), 59-71.
Vergara, D., Rubio, M., & Lorenzo, M. (2017). On the design of virtual reality learning environments in engineering. Multimodal technologies and interaction, 1(2), (pp. 1-11).