การศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยของ องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กานดา ปุ่มสิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การจัดการ, ขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของหมู่ 5 บ้านสังกะลี องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะ การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ และการคัดแยกขยะ ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 240 คน จากนั้นวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  For Window  ผลการศึกษาพบว่า ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอยนำข้อมูลมาแปรค่าเฉลี่ยพฤติกรรม ของตัวแปรต่างๆที่มีต่อระดับพฤติกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.35 , S.D.=0.509) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.42 , S.D.= 0.552) พฤติกรรม
ที่มีมากที่สุดคือ ท่านเก็บถุงพลาสติกที่ยังใช้งานได้กลับนำมาใช้ใหม่ได้อีก  (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.63 , S.D.= 0.485) ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.44 , S.D.= 0.519) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ท่านมีการคัดแยกขยะประเภท
หลอดนีออนและกระป๋องสเปรย์ก่อนทิ้งลงในถังขยะ (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.63 , S.D.= 0.526) ด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย พบว่าพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.19, S.D.=0.481)เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการ
ช่วยลดขยะ (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.50 , S.D.=0.579)

 ผลการศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของหมู่ 5 บ้านสังกะลี องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย พบว่าพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x}=3.35 , S.D.=0.509)  ดังนั้นควรมีการจัดอบรมความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย เช่น สาธิตการคัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภทให้ถูกวิธี มีการสาธิตการนำมูลฝอยมาใช้ประโยชน์หรือสร้างรายได้ เช่น การทำน้ำหมักจากเศษอาหาร การประดิษฐ์งานฝีมือจากขยะเหลือใช้ และการจัดตั้งธนาคารขยะ
เพื่อไปสู่การจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร. แหล่งที่มา. http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_garbage.html#s3 (16 ตุลาคม 2561)

กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2560. มปป. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยแหล่งที่มา. https://thaimsw.pcd.go.th/search.php?keyword=&action%5B%5D=2&province=60 (16 ตุลาคม 2561)

พรรณนา แลสันกลาง. (2555). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลแม่ปิม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ม.ป.ท.

เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์. (2555). ความรู้ และพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของครอบครัวใน จังหวัดนนทบุรี. ประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3.

นนทยา ศิริคุณ, สุกันญา ค่าเจริญ และธัญญ์ฐิตา ฤทธิ์นรเศรษฐ์. (2549). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองไผ่ อําเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-20