ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เทียมหทัย ชูพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ชนิดพืช, ไม้ต้น, ไม้พื้นล่าง, นครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถ่ายภาพ เก็บตัวอย่างพืชเพื่อการอ้างอิง และระบุชื่อวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาพบพรรณไม้ทั้งสิ้นจำนวน 51 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ Fabaceae จำแนกกลุ่มพืชที่ทำการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ไม้ต้นจำนวน 19 วงศ์ 32 สกุล 37 ชนิด ไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด ได้แก่ รัง (Shorea siamensis Miq.) มีค่าเท่ากับ 87.7781 รองลงมาคือ มะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.) และติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume) มีค่าเท่ากับ 20.6229 และ 18.6699 ตามลำดับ และกลุ่มที่ 2 ไม้พื้นล่างจำนวน 14 วงศ์ 25 สกุล 27 ชนิด ไม้พื้นล่างที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด ได้แก่ เพ็ก (Vietnamosasa pusilla (A. Chev. & A. Camus) T.Q. Nguyen) มีค่าเท่ากับ 38.5529 รองลงมาคือ หญ้าสามชั้น (Dyschoriste erecta (Burm.) Kuntze) และหนามพรม (Pachygone dasycarpa Kurz) มีค่าเท่ากับ 27.8807 และ 16.8211 ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของไม้ต้นและไม้พื้นล่าง เท่ากับ 2.5183 และ 2.3571 ค่าความสม่ำเสมอในการกระจายตัว เท่ากับ 0.6974 และ 0.7152 ค่าความหลากหลาย เท่ากับ 12.4075 และ 10.5602 ตามลำดับ เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย 2 ชนิด คือ ไส้ไก่ (Jasminum siamense Craib) และ พุดผา (Gardenia saxatilis Geddes) พืชที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered; EN) 1 ชนิด คือ พุดผา

References

เทียมหทัย ชูพันธ์. 2550. ความหลากชนิดของพรรณพืชและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในป่าโคกไร่ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2): 150-157.

เทียมหทัย ชูพันธ์. 2562. พรรณพืชในป่าชุมชนภูประดู่เฉลิมพระเกียรติ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4): 673-690.

สมหญิง บู่แก้ว เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และธวัชชัย ธานี. 2552. ความหลากชนิดของพรรณไม้และการใช้ประโยชน์

ผลผลิตของป่าในป่าชุมชนโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ, 7(1): 36-50.

เทวฤทธิ์ สองเมือง และเทียมหทัย ชูพันธ์. 2561. ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากเห็ดราขนาดใหญ่ในป่าชุมชนบ้านอ่างศิลา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว. หน้า. 29-36. ใน บทความการประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสกลนคร ครั้งที่ 1, 17-19 พฤษภาคม 2561. สกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

เอื้อมพร จันทร์สองดวง รัฐพล ศิริอรรถ ปิยะนุช ห่อดี และพจมาน นันทสิทธิ์. 2561. ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ของชุมชนไทลาวในเขตป่าอนุรักษ์วัดป่าพรหมประทาน บ้านน้ำคำ ตำบลโนนชัยศรี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 19(1): 65-80.

ผุสดี พรหมประสิทธิ์ ธัญรัตน์ ประมูลศิลป์ สุวิสา จันทร์โท และวรชาติ โตแก้ว. 2562. ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าชุมชนบ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 4(3): 37-47.

เทศบาลตำบลบัลลังก์. ม.ป.ป. ข้อมูลทั่วไป. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://bunlung.go.th/แนะนำตำบล/, (9

กุมภาพันธ์ 2562).

ก่องกานดา ชยามฤต. (2548). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ก่องกานดา ชยามฤต. (2550). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ก่องกานดา ชยามฤต. (2551). ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ 3. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี (บรรณาธิการ). 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไข

เพิ่มเติม พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ

สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

Forest Herbarium. 2017. Threatened plants in Thailand. Bangkok: Department of National Parks,

Wildlife and Plant Conservation.

ดอกรัก มารอด. 2554. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Krebs, C.J. 1985. Ecology : The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Pielou, E.C. 1975. Ecological Diversity. New York: Wiley.

เทียมหทัย ชูพันธ์. 2559. ความหลากหลายของพรรณพืชในป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ เทศบาลตำบลเมืองใหม่โคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย, 8(2): 213-229.

เทียมหทัย ชูพันธ์ นาริชซ่า วาดี ศรัญญา กล้าหาญ สุนิษา ยิ้มละมัย และสุวรรณี อุดมทรัพย์. 2563. ความหลากหลายของพรรณพืชในวัดป่าเขาคงคา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 5(3): 74-96.

ธวัชชัย สันติสุข. 2555. ป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พละชัย พรหมจันทร์. 2554. การศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้ยืนต้นในโครงการพระราชดำริพัฒนาป่าโคกกุดเลาะ จังหวัดนครพนม. ใน รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จตุฏฐาพร เพชรพรหม ปัญญา หมั่นเก็บ และธำรงค์ เมฆโหรา. 2556. ความหลากหลายของพืชพรรณการใช้ประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนดอนยาง ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 31(2): 37–46.

ขฑากร ศรีอาจ. 2543. การศึกษาความหลากชนิดของพรรณไม้ในป่าวัฒนธรรมบ้านปอพาน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรชาติ โตแก้ว และนวพรรษ ผลดี. 2560. ความหลากชนิดของพืชมีท่อลำเลียงในป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2): 203-217.

เอื้อมพร จันทร์สองดวง ดาริกา โพธิ์ศรี และอรอนงค์ น่าบัณฑิต. 2561. ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดและการใช้ประโยชน์ของไม้ต้นในเขตป่าชุมชนโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1): 1-16.

ณัฐกมล นาเจริญ สุกัลยา หวังรวมกลาง และเทียมหทัย ชูพันธ์. 2563. กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของพืช 15 ชนิดในพื้นที่ดินเค็ม ตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. หน้า. 87-93. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 2, 28 กุมภาพันธ์ 2563. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เทียมหทัย ชูพันธ์. 2563. ฐานทรัพยากรพืชท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหินดาดภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23