การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสึกหรอเหล็กสแตนเลส 316 สำหรับการสร้างสมการพยากรณ์เกี่ยวกับอายุการใช้งาน

ผู้แต่ง

  • ปริญญา ศรีสัตยกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสึกหรอ, การสึกหรอรูปแบบถูครูด, อายุการใช้งาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอเหล็กกล้าไร้สนิม 316 จากการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM-G65 เพื่อพิสูจน์ความสามารถในการต้านทานการสึกหรอกับความแตกต่างของเม็ดทราย ได้แก่ 35 และ 48 เมช ซึ่งเป็นเสมือนตัวบ่งชี้ถึงอายุการใช้งานของเหล็กกล้าไร้สนิม 316 ในสภาวะการสึกหรอถูครูดแบบแห้ง ในการทดลองการสึกหรอนี้ จะใช้ชิ้นงานทดสอบเหล็กกล้าไร้สนิม 316 ขนาด 15×40×3 มิลลิเมตร ทำการทดสอบกับล้อยางวัสดุโพลียูรีเทน ความหนา 20 มิลลิเมตร ด้วยความเร็วรอบล้อยาง 360 รอบต่อนาที โดยมีน้ำหนักกด 2 ขนาด (5 และ 10 กิโลกรัม) ภายใต้การจำลองสถานการณ์ในสภาวะถูครูดผ่านทรายแห้งใน 4 ช่วงเวลา 30 60 90 และ 120 วินาที บทสรุปสุดท้ายพบว่า การเสื่อมสภาพหมดอายุการใช้งานจากการสึกหรอด้วยเม็ดทราย 48 mesh จะมีความรุนแรงมากกว่าการเสื่อมสภาพหมดอายุการใช้งานจากการสึกหรอด้วยเม็ดทราย 35 mesh นอกจากนี้ การศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอสามารถสร้างสมการพยากรณ์เกี่ยวกับอายุการใช้งานได้ด้วยการประยุกต์ใช้หลักการเชิงวิศวกรรม

References

[1] วัฒนพร ชนไฮ และ อุษณีย์ กิตกำธร. 2556. ผลของเวลาในการอบออสเตนิไทซิงต่อการสึกหรอแบบขัดสีชนิดสามวัตถุของเหล็กหล่อเหนียวออสเทมเปอร์. หน้า. 11-20. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ.2556. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[2] สุพร ฤทธิภักดี สุขอังคณา ลี นลิน เพียรทอง และนภิสพร มีมงคล. 2556. พฤติกรรมการสึกหรอแบบขูดขีดของชั้นผิวแพร่โดยการ Pack Cementation บนเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ. หน้า. 12-23. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2, 2 กันยายน 2556. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
[3] จงกล ศรีธร. 2559. กระบวนการเชื่อมพอกผิวแข็งสำหรับอุปกรณ์งานดินการเกษตรเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน. ใน รายงานผลการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-20