การออกแบบและพัฒนาเครื่องย่อยเปลือกมะพร้าว

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์วุฒิ อริยะจิณโณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

เปลือกมะพร้าว, ใบมีด 3 ขั้น, อัตราการสับย่อย

บทคัดย่อ

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องย่อยเปลือกมะพร้าว และ  2) เพื่อหาประสิทธิภาพการย่อยเปลือกมะพร้าว ซึ่งตัวเครื่องมีขนาดความกว้าง 40 เซนติเมตร ความยาว 70 เซนติเมตร และความสูง 102 เซนติเมตร โดยใช้มอเตอร์กระแสสลับ 3 แรงม้า เป็นต้นกำลังส่งผ่านโดยสายพานและต่อกับพู่เล่ย์เพื่อให้แกนเพลาที่มีใบมีดทำงาน ซึ่งใบมีดจะมี 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นใบมีดรถเกี่ยวข้าว ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นเหล็กแหนบชุบแข็ง ตัวถังมีความหนาอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ความสูง 50 เซนติเมตร โดยการทดลองมีมะพร้าวสด 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้เปลือกมะพร้าวสดทั้งลูก และแบบที่ 2 ใช้เศษเปลือกมะพร้าวสด ผลการหาประสิทธิภาพเครื่องย่อยเปลือกมะพร้าวพบว่า การย่อยเปลือกมะพร้าวทั้งลูกมีอัตราการสับย่อย 385.2 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพการสับย่อยร้อยละ 98.60 และการย่อยเศษเปลือกมะพร้าว มีอัตราการสับย่อย 763.2 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพการสับย่อยร้อยละ 97.61

References

จิตติมา หลิมรักษาสิน. 2557. การพัฒนาเปลือกมะพร้าวอ่อนเพื่อเป็นวัสดุเพาะกล้า. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

กองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร. 2552. ออนไลน์.

นิติพงษ์ สมไชยวงค์. 2562. การออกแบบและสร้างเครื่องบดวัสดุจากกาบมะพร้าวควบคุมด้วยพีแอลซี.

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนิต กตัญชลีกูล. 2559. เครื่องย่อยเปลือกมะพร้าวสด. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2564. ไอเดีย แปรรูปมะพร้าวได้ทุกส่วน No Waste ต่อยอดของเหลือทิ้งสู่เงินแสน. ออนไลน์.

วัชริศ อังคภาณุกุล และ สมิธ ทองสุข. 2559. พัฒนากลไกชุดป้อนวัสดุเกษตรสำหรับเครื่องสับกาบมะพร้าว

ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28