Plants in Ban Sap Phongphot Community Forest, Soeng Sang District, Nakhon Ratchasima Province
คำสำคัญ:
ความหลากหลาย, ชนิดพืช, ไม้ต้น, ไม้พื้นล่าง, นครราชสีมาบทคัดย่อ
การศึกษาพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านซับพงโพด อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ด้วยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 20×20 เมตร จำนวน 14 แปลง พืชที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ไม้ต้นและไม้พื้นล่าง ผลการศึกษาพบไม้ต้น 34 วงศ์ 63 สกุล 70 ชนิด ไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด ได้แก่ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume) มีค่าเท่ากับ 50.1685 รองลงมาคือ เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) และรัง (Shorea siamensis Miq.) มีค่าเท่ากับ 31.9030 และ 27.8697 ตามลำดับ พบไม้พื้นล่าง 40 วงศ์ 66 สกุล 69 ชนิด ไม้พื้นล่างที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด ได้แก่ เพ็ก (Vietnamosasa pusilla (A. Chev. & A. Camus) T. Q. Nguyen) มีค่าเท่ากับ 32.2880 รองลงมาคือ ตีนตุ๊กแก (Selaginella sp.) และสังกรณี (Barleria strigosa Willd.) มีค่าเท่ากับ 29.0962 และ 13.0067 ตามลำดับ ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ต้นและไม้พื้นล่าง เท่ากับ 2.7893 และ 2.6588 ค่าความสม่ำเสมอในการกระจายตัว เท่ากับ 0.6565 และ 0.6279 ตามลำดับ เป็นพืชหายากของไทย 1 ชนิด คือ คำมอกหลวง (Gardenia sootepensis Hutch.) พืชหายากของโลก 3 ชนิด คือ ส้านใบเล็ก (Dillenia ovata Wall. ex Hook. f. & Thomson) กระพี้จั่น (Millettia brandisiana Kurz) และมะไฟแรด (Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.) พืชที่อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable; VU) 1 ชนิด คือ ปรงป่า (Cycas siamensis Miq.)
References
[2] เอื้อมพร จันทร์สองดวง รัฐพล ศิริอรรถ ปิยะนุช ห่อดี และพจมาน นันทสิทธิ์. 2561. ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ของชุมชนไทลาวในเขตป่าอนุรักษ์วัดป่าพรหมประทาน บ้านน้ำคำ ตำบลโนนชัยศรี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 19(1): 65-80.
[3] ผุสดี พรหมประสิทธิ์ ธัญรัตน์ ประมูลศิลป์ สุวิสา จันทร์โท และวรชาติ โตแก้ว. 2562. ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชในป่าชุมชนบ้านโนนซาด ตำบลท่าลาด อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 4(3): 37-47.
[4] พระครูพิพิธจารุธรรม. 2558. แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพุทธศาสนา: กรณีมูลนิธิฮักเมืองน่าน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 3(2): 30-40.
[5] ก่องกานดา ชยามฤต และวรดลต์ แจ่มจำรูญ. 2559. คู่มือจำแนกพรรณไม้. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
[6] ราชันย์ ภู่มา. 2559. สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
[7] สำนักงานหอพรรณไม้. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
[8] ดอกรัก มารอด. 2554. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[9] Krebs, C.J. 1985. Ecology : The Experimental Analysis of Distribution and Abundance. 3rd ed. New York: Harper and Row.
[10] Pielou, E.C. 1975. Ecological Diversity. New York: Wiley.
[11] ราชันย์ ภู่มา. 2551. พืชหายากของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้พันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
[12] Forest Herbarium. 2017. Threatened plants in Thailand. Bangkok: Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.
[13] ธวัชชัย สันติสุข. 2555. ป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
[14] พรนภา เบาสูงเนิน พงษ์สิทธิ์ สวนศรี และเทียมหทัย ชูพันธ์. (2562). ความหลากหลายของพรรณไม้ต้น ป่าชุมชนโคกโสกขี้หนู อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 59-65. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1, 20 เมษายน 2562. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
[15] จตุฏฐาพร เพชรพรหม, ปัญญา หมั่นเก็บ และธำรงค์ เมฆโหรา. 2556. ความหลากหลายของพืชพรรณการใช้ประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนดอนยาง ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 31(2): 37–46.
[16] เทียมหทัย ชูพันธ์. (2564). ความหลากหลายของพรรณไม้ในป่าชุมชนบ้านบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี, 1(1): 1-10.
[17] ศศิมา อ่ำพร้อม อัจฉรา กล้าหาญ และเทียมหทัย ชูพันธ์. (2562). ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ต้นในพื้นที่ป่าโคกชาติสาธารณประโยชน์ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. หน้า 66-74. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1, 20 เมษายน 2562. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
[18] วรชาติ โตแก้ว และนวพรรษ ผลดี. 2560. ความหลากชนิดของพืชมีท่อลำเลียงในป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2): 203-217.
[19] เทียมหทัย ชูพันธ์. 2562. พรรณพืชในป่าชุมชนภูประดู่เฉลิมพระเกียรติ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4): 673-690.
[20] เทียมหทัย ชูพันธ์ นาริชซ่า วาดี ศรัญญา กล้าหาญ สุนิษา ยิ้มละมัย และสุวรรณี อุดมทรัพย์. 2563. ความหลากหลายของพรรณพืชในวัดป่าเขาคงคา อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 5(3): 74-96.
[21] เอื้อมพร จันทร์สองดวง ดาริกา โพธิ์ศรี และอรอนงค์ น่าบัณฑิต. 2561. ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดและการใช้ประโยชน์ของไม้ต้นในเขตป่าชุมชนโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(1): 1-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์