A Material and Durable Articles Management System, A Case Study: Health Science Programs, Sakon Nakhon Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • ดร.นิภาพร ชนะมาร 0919391455

คำสำคัญ:

วัสดุ, ครุภัณฑ์, ระบบบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการวัสดุและครุภัณฑ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการวัสดุและครุภัณฑ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการวัสดุและครุภัณฑ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร การประเมินประสิทธิภาพใช้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และการประเมินหาความพึงพอใจของระบบ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30 คน คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพและแบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ระบบบริหารจัดการวัสดุและครุภัณฑ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สามารถใช้งานได้จริง ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระบบนี้สามารถนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ได้อย่างเหมาะสม

References

1] วรวิทย์ จันรอง และ นิภาพร ชนะมาร. 2562. การพัฒนาระบบตรวจสอบและแจ้งซ่อมครุภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลนีคิวอาร์โค้ด. การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 3. วันที่ 18-19 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
[2] พินทุสร ปัสนะจะโน และคณะ. 2560. การใช้รหัสคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการบนมือถือเพื่อการบริหารจัดการครุภัณฑ์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 9 มกราคม-ธันวาคม 2560. หน้า 88-97.
[3] นเรศ วงศ์คะสุ่ม. 2556. การพัฒนาระบบสารสนเทศการทำโครงงานนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
[4] สุกัญชลิกา บุญมาธรรม จิรวัฑฒ์ แก้วโกศล และเอกพงษ์ ทองแท้. 2559. การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559. หน้า 39-45.
[5] พงษ์พิชญ์ อุดมศิริรัตน์ และนุชนาฎ สัตยากวี. 2558. ระบบยืมคืนอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน. ปริญญานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
[6] สาวิตรี ทองประเสริฐ. 2549. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานพัสดุครุภัณฑ์บนเครือข่ายอินทราเน็ต
กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโพธินิมิต. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[7] เกื้อกูล ปรีเปรม. 2549. การพัฒนาระบบครุภัณฑ์และวัสดุผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23