ผลของอุณหภูมิอบคืนตัวที่มีต่อประสิทธิภาพการใช้งานของมีดตัดโคนอ้อย

ผู้แต่ง

  • ณภัทร อินทนนท์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

มีดตัดโคนอ้อย, การสึกหรอ, ค่าความแข็ง, ค่าความทนทาน, อบคืนตัว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิของการอบคืนตัว (Tempering) ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของมีดตัดโคนอ้อย  วัสดุที่ใช้ในการศึกษาได้แก่มีดตัดโคนอ้อยที่ผลิตจากสเตนเลส 420J2 จำนวน 22 ใบ เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบและวิเคราะห์ผลได้แก่ เครื่องทดสอบความแข็งแบบ universal (Universal Hardness Tester) เครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบ Charpy (Charpy Impact test)  กล้องจุลทรรศน์สำหรับงานโลหะวิทยา (Metallurgical microscope) และเครื่องทดสอบการสึกหรอชนิด pin – on – disc และการทดสอบใช้งานจริง ใช้รถตัดอ้อย ยี่ห้อ John deere รุ่น CH570  ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิของการอบคืนตัว ไม่มีผลทำให้ค่าความแข็งแตกต่างกัน แต่ ทำให้ค่าความทนทาน(toughness) มีความแตกต่างกัน และอุณหภูมิที่สูงกว่า จะช่วยทำให้ความบกพร่องแบบเส้น (Dislocation) และจุดบกพร่อง (Imperfection) ของผลึกลดลดง ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการสึกหรอแตกต่างกัน ลักษณะของผิวของชิ้นงานทำให้การสึกหรอแตกต่างกันทั้งในห้องปฏิบัติการและจากการทดสอบใช้งาน

References

ชัยวัช โชวเจริญสุข. อุตสาหกรรมน้ำตาล.[online] ค้นได้จาก www.krungsri.com/th/research/

ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564.

ผู้จัดการออนไลน์.การค้า-อุตสาหกรรม – คมนาคม[ออนไลน์ล] ค้นได้จาก https://mgronline.com

ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564.

ASTM G99-95, Standard Test Method for Wear Testing with a Pin-on-Disk Apparatus, ASTM

International, West Conshohocken, PA, 2000.

ณัฐสักดิ์ พรพุฒิศิริ และ ประสาน แสงเขียว. การศึกษาพฤติกรรมการต้านทานการสึกหรอแบบยึดเกาะ

ของพันซ์ในงานแม่พิมพ์ตัด. การประชุมวิชาการงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555. ชะอำ

เพชรบุรี. 2555.

S.R. Thorat, A.G. Thakur, Analysis of surface roughness and wear resistance in low

plasticity burnishing process using multi-objective optimization technique,

Materials Today: Proceedings, Volume 41, Part 5, 2021, Pages 1082-1088

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-12