เห็ดในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เทียมหทัย ชูพันธ์ -

คำสำคัญ:

ชนิดเห็ด, อุทยานแห่งชาติภูแลนคา, ชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษาเห็ดในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 – พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ด้วยการเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพื่อรวบรวมชนิดของเห็ดและจัดจำแนกด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลการศึกษาพบเห็ด จำนวน 29 วงศ์ 52 สกุล 83 ชนิด จำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ เห็ดกินได้ 35 ชนิด เห็ดที่กินไม่ได้และเห็ดพิษ 15 ชนิด และเห็ดที่ไม่พบข้อมูลว่ากินได้ 33 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ Boletaceae จำนวน 10 ชนิด รองลงมาคือ วงศ์ Amanitaceae และวงศ์ Marasmiaceae จำนวนวงศ์ละ 9 ชนิด และวงศ์ Polyporaceae จำนวน 8 ชนิด ตามลำดับ

References

ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล. 2562. คู่มือการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ด เห็ดพิษและการเฝ้าระวังในชุมชน. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

นิวัฒ เสนาะเมือง. 2553. เห็ดป่าเมืองไทย: ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2565. อุทยานแห่งชาติภูแลนคา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9135 (15 มกราคม 2565).

เทียมหทัย ชูพันธ์ เสาวลักษณ์ จำเริญธรรม และ อัญชลี ลำพึง. 2560. ความหลากหลายและนิเวศวิทยาของไม้พื้นล่างในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. น. 30-36. ใน รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11, 14-16 มิถุนายน 2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เทียมหทัย ชูพันธ์ จิรประภา ทองสุขแก้ง และธนา ดานะ. 2561. ความหลากหลายของชนิดและนิเวศวิทยาของกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5): 612-618.

บารมี สกลรักษ์ กิตติมา ด้วงแค วินันท์ดา หิมะมาน จันจิรา อายะวงศ์ และกฤษณา พงษ์พานิช. 2560. คู่มือการศึกษาความหลากหลายเห็ด. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอทุยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

ปรเมษฐ์ รักษาวงษ์. 2544. เห็ดและราในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. เห็ดในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

อนงค์ จันทร์ศรีกุล พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ อุทัยวรรณ แสงวณิช Tsutomu Morinaga Yoshinori Nishizawa และ Yasuki Murakami. 2551. ความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Global Biodiversity Information Facility (GBIF). 2021. Fungi. [online]. Available https://www.gbif.org/species/5 (15 January 2022).

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2550. เห็ดในป่าสะแกราช. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และพลังงาน สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

บารมี สกลรักษ์ สมจิตรติยา ศรีสุวรรณ วินันท์ดา หิมะมาน กิตติมา ด้วงแค ปานรดา แจ้งสันเทียะ และกฤษณา พงษ์พานิช. 2561. การใช้ประโยชน์จากเห็ดของชุมชนโดยรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำพองและอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. น. 1-12. ใน เอกสารรวบรวมบทความวิจัย : การประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5, 10-14 กรกฎาคม 2561. สุราษฎร์ธานี: โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า.

อัญชลี ชนะเพียร และสุพรรณี ภู่งาม. 2557. ความหลากชนิดของเห็ดกินได้บนเขาตะกุดรัง ตำบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสารสีมา, 2: 57-61.

ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล อัจจิมา ทองบ่อ ชุลีพร จันทรเสนา โชติกา องอาจณรงค์ เสนีย์ พลราช สิทธิพร ปานเม่น ณัฐกานต์ หนูรุ่น สุจิตรา สิกพันธ์ และศิริวรรณ ลือดัง. 2564. การจำแนกเห็ดพิษด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 49(1): 40-57.

หนูเดือน เมืองแสน พงศ์เทพ สุวรรณวารี อมรรัตน์ พิทักษ์พงษ์ และปัญจมา จรรยาเลิศอดุล. 2556. ความหลากหลายของไลเคน เห็ด และราขนาดใหญ่ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช อพ.สธ. เขื่อนน้ำพุง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 109 น. ใน รายงานการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-10