การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล

ผู้แต่ง

  • มานพ ดอนหมื่น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • อลิษา เกษทองมา คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • โยธิน สุริยมาตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • เจษฎา คำภูมี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พลาสติกรีไซเคิล, ลดของเสียกระบวนการผลิต, สายพานลำเลียง, พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ

บทคัดย่อ

พลาสติกมีบทบาทต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้แนวโน้มการใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดขยะพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้นตามมา ส่งผลให้ต้องนำมากำจัด หรือรีไซเคิล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อความลดล้าช้าในการทำงาน ลดของเสียในการผลิต โดยคณะผู้วิจัยได้พัฒนาชุดสายพานลำเลียงเศษพลาสติกเข้าเครื่องหลอมแบบอัตโนมัติ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการหลอมพลาสติกเพื่อรีไซเคิล ก่อนการปรับปรุงพบว่าการเศษพลาสติกเข้าเครื่องหลอมใช้เวลา 5.06 นาทีต่อรอบการเติม และมีความสูญเสียการตกหล่นของเศษพลาสติกระหว่างการเติม 0.20 กิโลกรัมต่อรอบ หลังการปรับปรุงการยกเติมเศษพลาสติกลงกรวยใช้เวลา 2.06 นาทีต่อรอบ คิดเป็น 60% ของเวลาที่ลดลง และมีเศษพลาสติกตกหล่นระหว่างการเติม 0.05 กิโลกรัมต่อรอบ คิดเป็น 75% ของการลดการเกิดของเสีย ในด้านผลลัพธ์ที่ประหยัดได้ พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 245,134 บาทต่อปี มีระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 1 ปี 1 เดือน ซึ่งสามารถลดความเมื่อยล้าให้แก่พนักงาน และลดต้นทุนการผลิต อันเป็นการเพิ่มกำไรให้กับองค์กรได้ในอนาคต

References

Samak, N. A., Jia, Y., Sharshar, M. M., Mu, T., Yang, M., Peh, S., & Xing, J. 2020. Recent advances in biocatalysts engineering for polyethylene terephthalate plastic waste green recycling. Environment International, 145: 106144.

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร, วัชระ สุขเรืองกูล, และนพพริษฐ์ วสันต์บ้งงึ้ม. 2019. การวิเคราะห์การหดตัวของผลิตภัณฑ์ชิ้นงานฉีดขึ้นรูปพลาสติกรีไซเคิลด้วยการจำลองแบบและวิธีการทากูชิ. UBU Engineering Journal, 12(2): 123-134.

วีระยุทธ จิตวิริยะ. การพัฒนาเครื่องอัดรีดเพื่อการผลิตเส้นพลาสติกสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ จากวัสดุรีไซเคิล. 2021. Industry Technology Lampang Rajabhat University, 14(2):87-98.

พรนภา สรสิทธิ์, ฤทธิรงค์ พันธ์ดี, กุณฑลีย์ บังคะดานรา, ดวงดาว สุดาทิพย์, กานต์นลินญา บุญที และภัทราบูลย์

นาคสู่สุข. 2565. กลุ่มอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของพนักงานจัดการขยะในโรงงานอุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติกแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. Health Science Journal of Thailand, 4(1):10-20.

โรจนี หอมชาลี, ดนัสวินี พุทธแสง และนคินทิพย์ กั้วสิทธิ์. 2563. การออกแบบและพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพ กรณีศึกษา โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล. KKU Research Journal (Graduate Studies), 20(4):150-164.

กุลกันยา ศรีสุข, วีระชัย คอนจอหอ, พัฒนพงษ์ วันจันทึก, และกฤต ชนวงศ์รัตน์. 2557. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการจัดการอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2):59-68.

มานพ ดอนหมื่น และณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล. 2562. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยวิธีการจัดสมดุลสายการผลิต. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 13(2): 176-185.

มานพ ดอนหมื่น และคณะ. 2563. การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องทำขนมจีนแบบกึ่งอัตโนมัติ. หน้า. 526-537. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งประดิษฐ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

โยธิน สุริยมาตร, มานพ ดอนหมื่น, ภูริพัส แสนพงษ์ และบุญกิจ อุ่นพิกุล. 2561. การเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการดัดโค้งตะแกรงชุดโค้งบนของการผลิตเครื่องนวดข้าว. หน้า. 680-686. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 7. ขอนแก่น

Plantard, P., Shum, H. P., & Multon, F. 2017. Usability of corrected Kinect measurement for ergonomic evaluation in constrained environment. International Journal of Human Factors Modelling and Simulation, 5(4): 338-353.

Battini, D., Faccio, M., Persona, A., & Sgarbossa, F. 2011. New methodological framework to improve productivity and ergonomics in assembly system design. International Journal of Industrial Ergonomics, 41(1): 30–42.

Kuhlang, P., Edtmayr, T., and Sihn, W. 2011. Methodical approach to increase productivity and reduce lead time in assembly and production-logistic processes. CIRP Journal of Manufacturing Science and Technology, 4(1): 24–32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30